9
เป้าหมายที่ 9 สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม
การมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดีและมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาสู่สังคมอย่างต่อเนื่องได้กลายเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมในปัจจุบัน เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานที่ดี โดยเฉพาะด้านการคมนาคมและขนส่ง จะช่วยทำให้การเดินทางระหว่างประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ทำได้ง่ายขึ้น นำไปสู่การแลกเปลี่ยนสินค้าและองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างทั่วถึง ขณะที่การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในสังคมมากขึ้น อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน การพัฒนาเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการใช้ชีวิตและการทำธุรกิจ อย่างไรก็ดี การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและการส่งเสริมนวัตกรรมดังกล่าวจะต้องคำนึงถึงมิติการกระจายโอกาสการเข้าถึงให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มทั้งผู้พิการและผู้สูงอายุ รวมไปถึงการทำให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้อย่างครอบคลุมและเท่าเทียมเป้าหมายหลักที่ 9
สถานะข้อมูลปี 2566
77%
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต
(สถานการณ์ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง
(สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 50 - 74 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย
(สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 75 - 99 ของค่าเป้าหมาย)
บรรลุค่าเป้าหมาย
(บรรลุค่าเป้าหมายร้อยละ 100)
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
ทิศทางการพัฒนา
แนวโน้มลดลง
- แนวโน้มเพิ่มขึ้น
- แนวโน้มคงที่
- แนวโน้มลดลง
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
ปานกลาง
การแสดงผลความก้าวหน้าของข้อมูล
อยู่ระหว่างดำเนินการ
9.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาคและที่ข้ามเขตแดน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ โดยมุ่งเป้าที่การเข้าถึงได้ในราคาที่สามารถจ่ายได้และเท่าเทียมสำหรับทุกคน
9.1.1 สัดส่วนของประชากรชนบทที่อาศัยอยู่ภายในระยะ 2 กิโลเมตรจากถนนที่สามารถใช้งานได้ทุกฤดู
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงคมนาคม
9.1.2 ปริมาณผู้โดยสารและสินค้าที่ขนส่ง จำแนกตามรูปการขนส่ง
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงคมนาคม
ข้อมูลสถิติคมนาคม
9.2. ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืนและภายในปี พ.ศ. 2573 ให้เพิ่มส่วนแบ่งของภาคอุตสาหกรรมในการจ้างงานและผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ โดยให้เป็นไปตามบริบทของประเทศ รวมทั้งให้เพิ่มส่วนแบ่งขึ้นเป็น 2 เท่า ในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
9.2.1 สัดส่วนของมูลค่าเพิ่มผลผลิต (MVA) ต่อ GDP และต่อหัวประชากร
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
9.2.2 สัดส่วนการจ้างงานในอุตสาหกรรมการผลิตต่อการจ้างงานรวมทั้งหมด
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
9.3 เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินโดยรวมถึงเครดิตในราคาที่สามารถจ่ายได้ ของอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดเล็ก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งเชื่อมโยงเข้าสู่ห่วงโซ่มูลค่าและตลาด
9.3.1 สัดส่วนของมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมขนาดเล็กต่อมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมทั้งหมด
ที่มา : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
9.3.2 สัดส่วนของอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่มีการกู้ยืม หรือมีวงเงินที่ธนาคารให้กู้ยืม
ที่มา : (1) ธนาคารแห่งประเทศไทย (2) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
9.4 ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนโดยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและการใช้เทคโนโลยีและกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยดำเนินการตามขีดความสามารถของแต่ละประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2573
9.4.1 ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยมูลค่าเพิ่ม
ที่มา : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
9.5 เพิ่มพูนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา และให้ภายในปี พ.ศ. 2573 มีการส่งเสริมนวัตกรรมและให้เพิ่มจำนวนผู้ทำงานวิจัยและพัฒนาต่อประชากร 1 ล้านคน และเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของภาครัฐและภาคเอกชน
9.5.1 สัดส่วนของค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา ต่อ GDP
ที่มา : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
9.5.2 สัดส่วนนักวิจัย (เทียบเท่ากับการทำงานเต็มเวลา) ต่อประชากร 1,000,000 คน
ที่มา : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
9.a อำนวยความสะดวกการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงในประเทศกำลังพัฒนาผ่านการยกระดับการสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยีและด้านวิชาการให้แก่ประเทศในทวีปแอฟริกา ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก
9.a.1 การสนับสนุนระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการทั้งหมด (ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และกระแสความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการอื่น (OOF)) ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ที่มา : กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
9.b สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมภายในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงการให้มีสภาพแวดล้อมทางนโยบายที่นำไปสู่ความหลากหลายของอุตสาหกรรมและการเพิ่มมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์
9.b.1 สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูง และระดับกลางต่อมูลค่าเพิ่มรวมทั้งหมด
ที่มา : องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO)
9.c เพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและมุ่งจัดให้มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยถ้วนหน้าและในราคาที่สามารถจ่ายได้ในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ภายในปี พ.ศ. 2563
9.c.1 สัดส่วนของประชากรที่อยู่ในพื้นที่ที่มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำแนกตามเทคโนโลยี
ที่มา : คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
กรณีศึกษาของการดำเนินการในเป้าหมาย SDG 9
โครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi)
ประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมด้านการพัฒนาและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อยกระดับไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง โดยมีโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ณ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ นำร่องสำหรับการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน โดยมี 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth)