8
เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และ มีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 8 มุ่งส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ผ่านการยกระดับผลิตภาพแรงงานและการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการผลิต โดยการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการ การสร้างงาน รวมถึงการดำเนินนโยบายเพื่อขจัดปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย แรงงานทาส และการค้ามนุษย์ ซึ่งจะนำไปสู่การจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคนภายใน ปี 2573เป้าหมายหลักที่ 8
สถานะข้อมูลปี 2566
n/a
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต
(สถานการณ์ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง
(สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 50 - 74 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย
(สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 75 - 99 ของค่าเป้าหมาย)
บรรลุค่าเป้าหมาย
(บรรลุค่าเป้าหมายร้อยละ 100)
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
ทิศทางการพัฒนา
แนวโน้มคงที่
- แนวโน้มเพิ่มขึ้น
- แนวโน้มคงที่
- แนวโน้มลดลง
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
น้อย
การแสดงผลความก้าวหน้าของข้อมูล
อยู่ระหว่างดำเนินการ
8.1 ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจต่อหัวประชากรมีความยั่งยืนตามบริบทของประเทศ
8.1.1 อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริง (real GDP) ต่อหัวประชากร
ที่มา : (1) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2) กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
8.2 บรรลุการมีผลิตภาพทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงขึ้นผ่านการสร้างความหลากหลาย การยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการมุ่งเน้นภาคการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น
8.2.1 อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีของ real GDP ต่อประชากรผู้มีงานทำ
ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
8.3 ส่งเสริมนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่มีคุณค่า ความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม และให้การสนับสนุนการรวมตัวและการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ผ่านการเข้าถึงบริการทางการเงิน
8.3.1 สัดส่วนการจ้างงานนอกระบบต่อการจ้างงานทั้งหมด จำแนกตามสาขา และเพศ
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
8.4 ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของโลกในการบริโภคและการผลิตอย่างต่อเนื่อง และมุ่งแยกการเติบโตทางเศรษฐกิจออกจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม (decouple) ซึ่งเป็นไปตามกรอบการดำเนินงานระยะ 10 ปี ว่าด้วยการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยมีประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้นำในการดำเนินการไปจนถึงปี พ.ศ. 2573
8.4.1 ร่องรอยการใช้วัตถุดิบ (Material Footprint) ร่องรอยการใช้วัตถุดิบต่อหัวประชากร และต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
8.4.2 การบริโภควัตถุดิบในประเทศ การบริโภควัตถุดิบในประเทศต่อหัวประชากร และต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
8.5 บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้พิการ และให้มีการจ่ายค่าจ้างที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน ภายในปี พ.ศ. 2573
8.5.1 รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงของลูกจ้าง จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ และความพิการ
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
8.5.2 อัตราการว่างงาน จำแนกตามเพศ อายุ และ ความพิการ
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
8.6 ลดสัดส่วนของเยาวชนที่ไม่มีงานทำ ไม่ได้รับการศึกษาหรือการฝึกอาชีพ ลงอย่างมาก ภายในปี พ.ศ. 2563
8.6.1 สัดส่วนของเยาวชน (15-24 ปี) ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา การจ้างงานหรือการฝึกอบรม
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
8.7 ดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพโดยทันที เพื่อขจัดแรงงานที่ถูกบังคับ ยุติความเป็นทาสสมัยใหม่และการค้ามนุษย์ และยับยั้งและกำจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งรวมถึงการเกณฑ์และการใช้ทหารเด็ก และภายในปี พ.ศ. 2568 ยุติการใช้แรงงานเด็กในทุกรูปแบบ
8.7.1 สัดส่วนและจำนวนเด็กอายุ 5-17 ปี ที่เข้าข่ายแรงงานเด็ก จำแนกตามเพศและอายุ
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้8.8 คุ้มครองสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะผู้หญิงและผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย
8.8.1 อัตราความถี่ของการบาดเจ็บร้ายแรง และไม่ร้ายแรง จากการทำงาน ต่อแรงงาน 100,000 คน จำแนกตามเพศ และสถานะแรงงานต่างด้าว
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้8.8.2 ระดับการปฏิบัติตามสิทธิแรงงานในประเทศ (เสรีภาพในการสมาคม และการเจรจาต่อรองร่วม) โดยยึดหลักธรรมนูญของ ILO และกฎหมายภายในประเทศ จำแนกตามเพศ และสถานะแรงงานต่างด้าว
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้8.9 ออกแบบและใช้นโยบายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ซึ่งช่วยสร้างงานและส่งเสริมวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ภายในปี พ.ศ. 2573
8.9.1 สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจากการท่องเที่ยวต่อ GDP ทั้งหมด และอัตราการเติบโตของ GDP จากการท่องเที่ยว
ที่มา : (1) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
8.10 เสริมความแข็งแกร่งของสถาบันทางการเงินภายในประเทศเพื่อส่งเสริมและขยายการเข้าถึงการธนาคาร การประกัน และบริการทางการเงินแก่ทุกคน
8.10.1 จำนวน (a) สาขาของธนาคารพาณิชย์ และ (b) เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATMs) ต่อผู้ใหญ่ 100,000 คน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
8.10.2 สัดส่วนของผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป) ที่มีบัญชีกับธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่น ๆ หรือกับผู้ให้บริการทางการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
8.a เพิ่มการสนับสนุนในกลไกความช่วยเหลือเพื่อการค้า (Aid for Trade) แก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ซึ่งรวมถึงผ่านกรอบการทำงานแบบบูรณาการสำหรับความช่วยเหลือทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการค้าแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
8.a.1 มูลค่าความช่วยเหลือ/ภาระผูกพัน (Commitments) และการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือ (Disbursements) ภายใต้กลไกความช่วยเหลือเพื่อการค้า (Aid for Trade)
ที่มา : สํานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
8.b พัฒนาและดำเนินงานตามยุทธศาสตร์โลกสำหรับการจ้างงานเยาวชนและดำเนินการให้เป็นผลตามข้อตกลงเรื่องงานของโลก (Global Jobs Pact) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ภายในปี พ.ศ. 2563
8.b.1 การมีและดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ระดับประเทศเฉพาะด้านการจ้างงานเยาวชน หรือเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ด้านการจ้างงานของประเทศ
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้กรณีศึกษาของการดำเนินการในเป้าหมาย SDG 8
โครงการ 60 Plus Bakery and Chocolate Café ฝึกอาชีพให้แก่ผู้พิการ
ในการส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน จึงได้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการดำเนินโครงการ 60 Plus Bakery and Chocolate Café มีวัตถุประสงค์หลักในการฝึกอบรมทักษะในการประกอบอาชีพให้แก่ผู้พิการ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มคุณค่าและสร้างโอกาสให้กับคนพิการ เพื่อที่คนพิการจะสามารถช่วยเหลือตัวเองและสามารถหารายได้เลี้ยงตัวเองได้