เป้าหมายที่ 7 สร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน
พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ และการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งความต้องการใช้พลังงานมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การพึ่งพาแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปหรือพลังงานจากฟอสซิลที่สามารถจัดหาได้อย่างสะดวกและง่ายต่อใช้งานในหลายกิจกรรม ส่งผลให้ภาคพลังงานมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด และเป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยเหตุนี้ พลังงานสะอาดโดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียนจึงเป็นทางเลือกในการยกระดับประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพลังงานไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและหาซื้อพลังงานหมุนเวียนได้ง่ายขึ้น สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต รวมทั้งตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในภาคพลังงาน การเพิ่มบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัล และการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคแห่งการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าเป้าหมายหลักที่ 7
สถานะข้อมูลปี 2566
- แนวโน้มเพิ่มขึ้น
- แนวโน้มคงที่
- แนวโน้มลดลง
การแสดงผลความก้าวหน้าของข้อมูล
อยู่ระหว่างดำเนินการ
7.1 สร้างหลักประกันว่ามีการเข้าถึงบริการพลังงานสมัยใหม่ที่เชื่อถือได้ ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ ภายในปี พ.ศ. 2573
7.1.1 สัดส่วนของประชากรที่เข้าถึงไฟฟ้า
7.1.2 สัดส่วนของประชากรที่พึ่งพาเชื้อเพลิงและเทคโนโลยีสะอาดเป็นหลัก
7.2 เพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนพลังงานของโลก (global energy mix) ภายในปี พ.ศ. 2573
7.2.1 สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย
7.3 เพิ่มอัตราการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโลกให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ภายในปี พ.ศ. 2573
7.3.1 ความเข้มของการใช้พลังงาน ที่สัมพันธ์กับพลังงานขั้นต้นและผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
7.a ยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการวิจัยและเทคโนโลยีพลังงานสะอาด โดยรวมถึงพลังงานหมุนเวียน ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และเทคโนโลยีเชื้อเพลิงฟอสซิลชั้นสูงและสะอาดขึ้น และสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ภายในปี พ.ศ. 2573
7.a.1 การไหลเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศสู่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานสะอาด และการผลิตพลังงานหมุนเวียน รวมทั้งระบบไฮบริด
ไม่มี
ไม่มีการดำเนินการสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้7.b ขยายโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการให้บริการพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนโดยถ้วนหน้าในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก และประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล โดยให้สอดคล้องกับแผนงานสนับสนุนของประเทศเหล่านั้น ภายในปี พ.ศ. 2573
7.b.1 กำลังผลิตติดตั้งพลังงานหมุนเวียนในประเทศกำลังพัฒนา (วัตต์ต่อหัวประชากร)
ไม่มี
ไม่มีการดำเนินการสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้กรณีศึกษาของการดำเนินการในเป้าหมาย SDG 7
กองทุนแสงอาทิตย์ (Solar Fund)
แนวคิดของการจัดตั้งกองทุนแสงอาทิตย์มีที่มาจาก พระครูวิมลปัญญาคุณ จากวัดป่าศรีแสงธรรม จ.อุบลราชธานี ริเริ่มนำโซลาร์เซลล์มาใช้ในวัดเพื่อลดค่าใช้จ่าย และหยิบยกประเด็นเรื่องพลังงานทดแทนมาประยุกต์ในการสอนนักเรียน กลายเป็นศูนย์อบรมโซล่าร์เซลล์ให้แก่ประชาชนทั่วไป และเป็นต้นแบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ชุมชน วัด ที่ไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้ ซึ่งแนวคิดการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ห่างไกลได้ขยายความร่วมมือไปสู่ภาคประชาชน โดยจัดตั้งเป็นกองทุนแสงอาทิตย์ (Thailand Solar Fund) ซึ่งเป็นความร่วมมือของเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศในนามคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) เครือข่ายภาคประชาสังคม ด้านศาสนา ด้านการพัฒนาเด็ก ด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน