6

เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาล ให้มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้ สำหรับทุกคน

น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยการส่งเสริมการเข้าถึงบริการด้านน้ำและการสุขาภิบาล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เป็นหนึ่งในวาระการพัฒนาสำคัญทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำสะอาดและสุขาภิบาลที่ดี จึงต้องผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการน้ำอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมการเข้าถึงน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอและได้มาตรฐาน ส่งเสริมให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพน้ำและการบำบัดน้ำเสียอย่างเป็นระบบ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ การปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศน์ที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ ตลอดจนการขยายความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและเพิ่มการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
ข้อมูลล่าสุด: 24 มกราคม 2568

เป้าหมายหลักที่ 6

สถานะข้อมูลปี 2566

ต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต (สถานการณ์ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง (สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 50 - 74 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย (สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 75 - 99 ของค่าเป้าหมาย)
บรรลุค่าเป้าหมาย (บรรลุค่าเป้าหมายร้อยละ 100)
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
ทิศทางการพัฒนา
แนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • แนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • แนวโน้มคงที่
  • แนวโน้มลดลง
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
น้อย

การแสดงผลความก้าวหน้าของข้อมูล

อยู่ระหว่างดำเนินการ

6.1 บรรลุเป้าหมายการให้ทุกคนเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยและมีราคาที่สามารถซื้อหาได้ภายในปี พ.ศ. 2573

6.1.1 สัดส่วนของประชากรที่ใช้บริการน้ำดื่มที่ได้รับการจัดการอย่างปลอดภัย

ไม่มี

ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้

6.2 บรรลุเป้าหมายการให้ทุกคนเข้าถึงการสุขาภิบาลและสุขอนามัยที่เพียงพอและเท่าเทียม และยุติการขับถ่ายในที่โล่ง โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อความต้องการของผู้หญิง เด็กหญิง และผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง ภายในปี พ.ศ. 2573

6.2.1 สัดส่วนของประชากรที่ใช้ (a) บริการด้านการสุขาภิบาลที่ได้รับการจัดการอย่างปลอดภัย (b) สิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือด้วยสบู่ และน้ำ

ไม่มี

ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้

6.3 ปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยการลดมลพิษ ขจัดการทิ้งและลดการปล่อยสารเคมีอันตรายและวัตถุอันตราย ลดสัดส่วนน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดลงครึ่งหนึ่ง และเพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่และการใช้ซ้ำที่ปลอดภัยทั่วโลกให้มากขึ้น ภายในปี พ.ศ. 2573

6.3.1 สัดส่วนของน้ำเสียครัวเรือนและอุตสาหกรรมที่ได้รับการบำบัดอย่างปลอดภัย

ไม่มี

ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้

6.3.2 สัดส่วนของแหล่งน้ำ (เช่น มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบ, แม่น้ำ, ธารน้ำ, คลอง, หรือสระน้ำ) ที่มีคุณภาพน้ำโดยรอบที่ดี

ไม่มี

ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้

6.4 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในทุกภาคส่วนและสร้างหลักประกันว่าจะมีการใช้น้ำและจัดหาน้ำที่ยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และลดจำนวนประชากรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ภายในปี พ.ศ. 2573

6.4.1 การเปลี่ยนแปลงของประสิทธิภาพการใช้น้ำในช่วงเวลาที่ผ่านมา

ที่มา : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

6.4.2 ระดับความตึงเครียดด้านน้ำ (สัดส่วนการใช้น้ำจืดต่อปริมาณน้ำจืดทั้งหมด)

ที่มา : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

6.5 ดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวมในทุกระดับ รวมถึงผ่านความร่วมมือข้ามเขตแดนตามความเหมาะสม ภายในปี พ.ศ. 2573

6.5.1 ระดับการดำเนินงานการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ

ที่มา : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

6.5.2 สัดส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำข้ามเขตแดนที่มีการจัดการดำเนินงานเพื่อความร่วมมือด้านน้ำ

ที่มา : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

6.6 ปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ รวมถึงภูเขา ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ แม่น้ำ ชั้นหินอุ้มน้ำ และทะเลสาบ ภายในปี พ.ศ. 2563

6.6.1 การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับน้ำในช่วงเวลาที่ผ่านมา

ไม่มี

ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้

6.a ขยายความร่วมมือระหว่างประเทศและสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในแผนงานและกิจกรรมด้านน้ำและการสุขาภิบาล ซึ่งรวมถึงการเก็บกักน้ำ การขจัดเกลือ ประสิทธิภาพการใช้น้ำ การบำบัดน้ำเสีย เทคโนโลยีการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ภายในปี พ.ศ. 2573

6.a.1 ปริมาณความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ในด้านที่เกี่ยวข้องกับน้ำและสุขาภิบาล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนบูรณาการการใช้จ่ายของภาครัฐ

ไม่มี

ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้

6.b สนับสนุนและเพิ่มความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการปรับปรุงการจัดการน้ำและการสุขาภิบาล

6.b.1 สัดส่วนของหน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้งและวางนโยบายปฏิบัติการ และกระบวนการปฏิบัติ เพื่อการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในด้านการจัดการน้ำและการสุขาภิบาล

ไม่มี

ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้

กรณีศึกษาของการดำเนินการในเป้าหมาย SDG 6

โครงการบริหารจัดการน้ำแบบองค์รวม

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ได้มีการดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำแบบองค์รวม เพื่อให้การจัดสรรให้ทรัพยากรน้ำมีความยั่งยืนและเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจและความต้องการของชุมชน นอกจากนี้ ความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิด
ความแปรปรวนของปริมาณทรัพยากรน้ำและเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทำให้บริษัทฯ ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานการบริหารจัดการน้ำทั้งภายในและภายนอกองค์กร ผ่านการจัดตั้งคณะทำงานและหารือร่วมกับหน่วยงานทีjเกี่ยวข้อง พร้อมทั้งการประเมินความเสี่ยงและระบุปัญหาในการบริหารจัดการน้ำ และการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ

อ่านเพิ่มเติม
Goal-1Goal-2Goal-3Goal-4Goal-5Goal-6Goal-7Goal-8Goal-9Goal-10Goal-11Goal-12Goal-13Goal-14Goal-15Goal-16Goal-17

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save