5

เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิงทุกคน

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 5 มุ่งดำเนินการเพื่อให้เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน โดยกำหนดให้ทุกประเทศต้องยุติการกระทำที่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้หญิง การใช้ความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ และการล่วงละเมิดทางเพศ ส่งเสริมการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเพศหญิงให้มีสิทธิในการเลือกคู่ครองตามวัยที่เหมาะสม รวมทั้งมีสิทธิที่จะพัฒนาศักยภาพตนเองและเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการมีบทบาททางการเมืองและการทำงานของเพศหญิงอย่างเท่าเทียม
ข้อมูลล่าสุด: 24 มกราคม 2568

เป้าหมายหลักที่ 5

สถานะข้อมูลปี 2566

ต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต (สถานการณ์ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง (สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 50 - 74 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย (สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 75 - 99 ของค่าเป้าหมาย)
บรรลุค่าเป้าหมาย (บรรลุค่าเป้าหมายร้อยละ 100)
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
ทิศทางการพัฒนา
แนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • แนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • แนวโน้มคงที่
  • แนวโน้มลดลง
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
มาก

การแสดงผลความก้าวหน้าของข้อมูล

อยุ่ระหว่างดำเนินการ

5.1 ยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิง และเด็กผู้หญิงในทุกที่

5.1.1 สนับสนุน บังคับ ติดตามตรวจสอบความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยกในหลักพื้นฐานทางด้านเพศ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีกรอบกฎหมายกำหนดไว้ก็ตาม

มี

พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558

5.2 ขจัดความรุนแรงทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงทั้งในที่สาธารณะและที่รโหฐาน รวมถึงการค้ามนุษย์ การกรทำทางเพศ และการแสวงประโยชน์ในรูปแบบอื่น

5.2.1 สัดส่วนของผู้หญิงและเด็กหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่เคยอยู่ร่วมกับคู่ครองได้รับความรุนแรงทางร่างกาย ทางเพศ หรือทางจิตใจโดยคู่ครองคนปัจจุบัน หรือคนก่อนหน้า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามรูปแบบความรุนแรงและอายุ

ที่มา : ศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข

5.2.2 สัดส่วนของผู้หญิงและเด็กหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่ได้รับความรุนแรงทางเพศจากบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่คู่ครอง ในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามอายุ และสถานที่เกิดเหตุ

ที่มา : ศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข

5.3 ขจัดแนวปฏิบัติที่เป็นภัยทุกรูปแบบ อาทิ การแต่งงานในเด็กก่อนวัยอันควรโดยการบังคับ และการทำลายอวัยวะในเพศหญิง

5.3.1 สัดส่วนของผู้หญิงอายุระหว่าง 20-24 ปี ที่แต่งงานหรืออยู่ด้วยกันก่อนอายุ 15 และ 18 ปี

ที่ี่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

5.3.2 สัดส่วนของเด็กหญิงและผู้หญิง (อายุระหว่าง 15-49 ปี) ที่ได้รับการขลิบ/ตัดอวัยวะเพศหญิง จำแนกตามอายุ

ไม่มี

ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทไทย

5.4 ยอมรับและให้คุณค่าต่อการดูแลและการทำงานแบบไม่ได้รับค่าจ้าง โดยจัดเตรียมบริการสาธารณะ โครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายการคุ้มครองทางสังคม และสนับสนุนความรับผิดชอบร่วมกันภายในครัวเรือนและครอบครัว ตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ

5.4.1 สัดส่วนของเวลาที่ใช้ไปในการทำงานบ้านและดูแลคนในครัวเรือนที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน จำแนกตามเพศ อายุ และสถานที่อยู่

ที่มา : องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization)

5.5 สร้างหลักประกันว่าผู้หญิงจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ มีประสิทธิผล และมีโอกาสที่เท่าเทียมในการเป็นผู้นำในทุกระดับของการตัดสินใจทางการเมือง เศรษฐกิจ และภาคสาธารณะ

5.5.1 สัดส่วนของผู้หญิงดำรงตำแหน่งใน (a) รัฐสภา และ (b) การปกครองท้องถิ่น

ที่มา : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ที่มา : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

5.5.2 สัดส่วนของผู้หญิงในตำแหน่งบริหาร

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

5.6 สร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ และสิทธิด้านการเจริญพันธุ์โดยถ้วนหน้า ตามที่ตกลงในแผนปฏิบัติการของการประชุมนานาชาติว่าด้วยประชากรและการพัฒนา และแผนปฏิบัติการปักกิ่ง และเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมทบทวนเหล่านั้น

5.6.1 สัดส่วนของผู้หญิงอายุ 15-49 ปี ที่ทำการตัดสินใจด้วยตนเองบนพื้นฐานข้อมูลที่เพียงพอ (informed decision) ในเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ การคุมกำเนิด และการดูแลด้านอนามัยการเจริญพันธุ์

ไม่มี

ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้

5.6.2 จำนวนประเทศที่มีกฎหมายและกฎระเบียบที่รับประกันได้ว่าผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เข้าถึงการศึกษา ข้อมูล และการดูแลด้านสุขภาวะทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียม

มี

พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 มาตรา 5
ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

5.a ดำเนินการปฏิรูปเพื่อให้ผู้หญิงมีสิทธิเท่าเทียมในทรัพยากรเศรษฐกิจ รวมทั้งการเป็นเจ้าของที่ดิน การควบคุมที่ดินและทรัพย์สินในรูปแบบอื่น การบริหารทางการเงิน การรับมรดก และทรัพยากรธรรมชาติตามกฏหมายของประเทศ

5.a.1 (a) สัดส่วนของจำนวนประชากรในภาคการเกษตรทั้งหมดที่เป็นเจ้าของหรือมีสิทธิเหนือพื้นที่ทำการเกษตร จำแนกตามเพศ และ (b) สัดส่วนของผู้หญิงที่เป็นเจ้าของหรือมีสิทธิถือครองพื้นที่ทางการเกษตร จำแนกตามประเภทการครอบครอง

ที่มา : (1) สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร กระทรวเกษตรและสหกรณ์ (2) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

5.a.2 สัดส่วนของประเทศที่กรอบกฎหมาย (รวมถึงกฎจารีตประเพณี) ที่รับประกันความเท่าเทียมของผู้หญิงในสิทธิการเป็นเจ้าของ หรือมีสิทธิในที่ดิน

มี

แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาสตรี พ.ศ. 2566 – 2570
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

5.b เพิ่มพูนการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อส่งเสริมการให้อำนาจแก่ผู้หญิง

5.b.1 สัดส่วนของผู้ที่เป็นเจ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำแนกตามเพศ

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

5.c เลือกใช้และเสริมความเข้มแข็งแก่นโยบายที่ดีและกฎระเบียบที่บังคับใช้ได้ เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการให้อำนาจแก่ผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคนในทุกระดับ

5.c.1 สัดส่วนของประเทศที่มีระบบติดตามและการจัดสรรงบประมาณสาธารณะเพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศและเสริมพลังผู้หญิง

มี

พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 และแผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์พัฒนาสตรี พ.ศ. 2560 – 2564
ที่มา : กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

กรณีศึกษาของการดำเนินการในเป้าหมาย SDG 5

สถาบันวานิตาเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน

“สถาบันวานิตาเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน” (WANITA Economic Empowerment Academy) ซึ่งอยู่ภายใต้การสนับสนุนของ OXFAM GB ประเทศไทย พร้อมกับความเชื่อที่ว่าศักยภาพของสตรีจะสามารถสร้างประโยชน์ในมิติเชิงเศรษฐกิจและสังคม พร้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน เพื่อนำไปสู่การสร้างสันติภาพได้ในอนาคต

อ่านเพิ่มเติม
Goal-1Goal-2Goal-3Goal-4Goal-5Goal-6Goal-7Goal-8Goal-9Goal-10Goal-11Goal-12Goal-13Goal-14Goal-15Goal-16Goal-17

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save