4
เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การศึกษาเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ การเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึงจะช่วยยกระดับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ปิดช่องว่างทางสังคม สร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 4 มุ่งเน้นสร้างหลักประกันว่าเด็กทั้งชายและหญิงสามารถเข้าถึงการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เยาวชนและผู้ใหญ่สามารถเข้าถึงการฝึกอบรมทักษะอาชีพในราคาที่เหมาะสมอย่างเท่าเทียมกัน ขจัดความไม่เสมอภาคทางเพศและความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนบรรลุการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพอย่างถ้วนหน้าเป้าหมายหลักที่ 4
สถานะข้อมูลปี 2566
n/a
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต
(สถานการณ์ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง
(สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 50 - 74 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย
(สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 75 - 99 ของค่าเป้าหมาย)
บรรลุค่าเป้าหมาย
(บรรลุค่าเป้าหมายร้อยละ 100)
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
ทิศทางการพัฒนา
แนวโน้มคงที่
- แนวโน้มเพิ่มขึ้น
- แนวโน้มคงที่
- แนวโน้มลดลง
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
น้อย
การแสดงผลความก้าวหน้าของข้อมูล
อยู่ระหว่างดำเนินการ
4.1 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพ เท่าเทียม และไม่มีค่าใช้จ่าย นำไปสู่ผลลัพธ์ทางการเรียนที่มีประสิทธิผล ภายในปี พ.ศ. 2573
4.1.1 สัดส่วนของเด็ก/เยาวชนใน (a) ระดับชั้น ป.2 หรือ ป.3 (b) ป.6 และ (c) ม.3 ที่มีความสามารถตามเกณฑ์ขั้นต่ำเป็นอย่างน้อย ใน (1) ด้านการอ่าน และ (2) ด้านคณิตศาสตร์ หรือการคิดคำนวณ จำแนกตาม เพศ
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4.1.2 อัตราการสำเร็จการศึกษา (ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย)
ที่มา : สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
4.2 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนเข้าถึงการพัฒนา การดูแล และการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา สำหรับเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพ เพื่อให้เด็กเหล่านั้นมีความพร้อมสำหรับการศึกษาระดับประถมศึกษา ภายในปี พ.ศ. 2573
4.2.1 ร้อยละของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มีพัฒนาการทางด้านสุขภาพ การเรียนรู้ และพัฒนาการทางบุคลิกภาพตามวัย จำแนกตามเพศ
ที่มา : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
4.2.2 อัตราการเข้าเรียนปฐมวัย (อย่างน้อย 1 ปี ก่อนถึงเกณฑ์อายุเข้าเรียนประถมศึกษา) จำแนกตามเพศ
ที่มา : สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
4.3 สร้างหลักประกันให้ชายและหญิงทุกคนเข้าถึงการศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมถึงมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ ในราคาที่สามารถจ่ายได้ ภายในปี พ.ศ. 2573
4.3.1 อัตราการเข้าเรียนของเยาวชนและผู้ใหญ่ ทั้งในระบบ นอกระบบการศึกษา รวมทั้งการฝึกอบรมในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามเพศ
ที่มา : สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา : สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่เกี่ยวข้องจำเป็น รวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่มีคุณค่า และการเป็นผู้ประกอบการ ภายในปี พ.ศ. 2573
4.4.1 สัดส่วนของเยาวชน/ผู้ใหญ่ที่มีทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำแนกตามประเภททักษะ
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
รายงานสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561-2563
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
รายงานสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561-2563
4.5 ขจัดความเหลี่อมล้ำทางเพศด้านการศึกษา และสร้างหลักประกันว่ากลุ่มที่เปราะบางซึ่งรวมถึงผู้พิการ ชนพื้นเมือง และเด็กในสถานการณ์เปราะบาง เข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียม ภายในปี พ.ศ. 2573
4.5.1 ดัชนีความเท่าเทียมกัน (ผู้หญิง-ผู้ชาย/ ในเขต-นอกเขตเมือง/ความมั่งคั่งสูง-ต่ำ และอื่นๆ เช่น สถานะความพิการ คนพื้นเมือง และคนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งหากมีข้อมูล) สำหรับทุกตัวชี้วัดที่ในรายการนี้ที่สามารถแยกได้
ที่มา : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา 2560-2563
ที่มา : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา 2560-2563
ที่มา : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา 2560-2563
4.6 สร้างหลักประกันว่าเยาวชนทุกคนและผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงในสัดส่วนสูง สามารถอ่านออกเขียนได้และคำนวณได้ ภายในปี พ.ศ. 2573
4.6.1 สัดส่วนของประชากรในกลุ่มอายุที่กำหนดมีความรู้ความสามารถสำหรับการทำงานในด้าน (a) การอ่านออกเขียนได้ (b) ทักษะในการคำนวณจำแนกตามเพศ
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
รายงานการสำรวจการอ่านของประชากร
4.7 สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการศึกษาสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน การมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและการไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก การชื่นชมในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการที่วัฒนธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2573
4.7.1 ระดับการดำเนินการเพื่อบรรจุ (i) การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก และ (ii) การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเรื่องหลักใน (a) นโยบายการศึกษาของประเทศ (b) หลักสูตร (c) การศึกษาของครู และ (d) การประเมินผลนักเรียน
ไม่มี
ศธ. อยู่ระหว่างดำเนินการรวบรวมข้อมูลและจัดทำข้อมูลตัวชี้วัด โดยหารือร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทส.4.a สร้างและยกระดับสถานศึกษา ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์การศึกษาที่ตอบสนองความละเอียดอ่อนของเด็ก ความพิการ และเพศภาวะ และจัดให้มีสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ปลอดภัย ปราศจากความรุนแรง ครอบคลุมและมีประสิทธิผลสำหรับทุกคน
4.a.1 สัดส่วนของโรงเรียนที่มีการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเภทบริการ (สัดส่วนของโรงเรียนที่มีการเข้าถึง (a) ไฟฟ้า (b) อินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการเรียนการสอน (c) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียนการสอน (d) โครงสร้างพื้นฐาน และวัสดุอุปกรณ์ที่ได้รับการปรับให้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย (e) น้ำดื่มพื้นฐาน (f) สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานด้านสุขอนามัยที่แบ่งแยกตามเพศ และ (g) สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานในการทำความสะอาดมือ (ตามนิยามตัวชี้วัดของ WASH ในเรื่อง น้ำ สุขอนามัย และสุขลักษณะสำหรับทุกคน))
ที่มา : สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
4.b เพิ่มจำนวนทุนการศึกษาทั่วโลกที่ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก และประเทศในทวีปแอฟริกา เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา รวมถึงการฝึกอาชีพ และโปรแกรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านเทคนิค วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ ในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2563
4.b.1 ปริมาณความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ที่เป็นทุนการศึกษา จำแนกตามสาขาและประเภทการศึกษา
ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ
4.c เพิ่มจำนวนครูที่มีคุณวุฒิ รวมถึงการดำเนินการผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศในการฝึกอบรมครูในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ภายในปี พ.ศ. 2573
4.c.1 สัดส่วนของครูที่มีคุณวุฒิเหมาะสมในการจัดการศึกษาพื้นฐาน จำแนกตามระดับการศึกษา สัดส่วนของครูในระดับ (a) ก่อนประถมศึกษา (b) ประถมศึกษา (c) มัธยมศึกษาตอนต้น และ (d) มัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้ซึ่งอย่างน้อยได้รับการฝึกอบรม (เช่น การฝึกอบรมการสอน) ซึ่งต้องดำเนินการก่อนหรือระหว่างช่วงที่ทำการสอนในระดับที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศ
ที่มา : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สถิติการศึกษาของประเทศไทย
กรณีศึกษาของการดำเนินการในเป้าหมาย SDG 4
โครงการลูกพระดาบสสมุทรปราการตามพระราชดำริ
โครงการลูกพระดาบสสมุทรปราการตามพระราชดำริ เป็นโครงการลูกของ “มูลนิธิพระดาบส” อยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของสำนักพระราชวัง มูลนิธิพระดาบส และจังหวัดสมุทรปราการ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 บนที่ดินราชพัสดุและที่ดินพระราชทาน รวม 475 ไร่ ที่ ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ โดยมีดาบสอาสา ซึ่งคืออาจารย์ผู้ถ่ายทอดความรู้ และศิษย์พระดาบส คือนักเรียนที่มาศึกษาหาความรู้