2
เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน เนื่องจากการมีพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาที่เหมาะสมตามวัย และการมีสุขภาพที่ดี จะช่วยสนับสนุนให้สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยอาหารที่บริโภคต้องมีความปลอดภัยและมีโภชนาการจำเป็นในระดับที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะในกลุ่มคนยากจนและผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง อาทิ คนพิการ คนชรา และทารก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความท้าทายในการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีโภชนาการในปริมาณที่เพียงพอ นอกจากนี้ ภาคเกษตรที่เป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญมีบทบาทอย่างมากในการสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร จึงควรสนับสนุนให้มีระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ความปลอดภัยของผู้บริโภค การเพิ่มผลิตภาพของภาคเกษตร ความสมดุลของระบบนิเวศ ความมั่นคงของฐานทรัพยากร และความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ และความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรเป้าหมายหลักที่ 2
สถานะข้อมูลปี 2566
n/a
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต
(สถานการณ์ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง
(สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 50 - 74 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย
(สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 75 - 99 ของค่าเป้าหมาย)
บรรลุค่าเป้าหมาย
(บรรลุค่าเป้าหมายร้อยละ 100)
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
ทิศทางการพัฒนา
แนวโน้มเพิ่มขึ้น
- แนวโน้มเพิ่มขึ้น
- แนวโน้มคงที่
- แนวโน้มลดลง
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
น้อย
การแสดงผลความก้าวหน้าของข้อมูล
อยู่ระหว่างดำเนินการ
2.1 ยุติความหิวโหยและสร้างหลักประกันให้ทุกคนโดยเฉพาะกลุ่มยากจนและกลุ่มที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง รวมถึงทารก ได้เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีโภชนาการ และเพียงพอตลอดทั้งปี ภายในปี พ.ศ. 2573
2.1.1 ความชุกของภาวะขาดสารอาหาร
ที่มา : องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
2.1.2 ความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลางหรือรุนแรงในประชากร โดยใช้ขนาดของประสบการณ์ด้านความไม่มั่นคงทางอาหาร (FIES)
ที่มา : องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
2.2 ยุติภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบและแก้ไขปัญหาความต้องการสารอาหารของหญิงวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร และผู้สูงอายุ ภายในปี พ.ศ. 2573 รวมถึงบรรลุเป้าหมายที่ตกลงร่วมกันระหว่างประเทศว่าด้วยภาวะเตี้ยแคระแกร็นและผอมแห้ง ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ภายในปี พ.ศ. 2568
2.2.1 ความชุกของภาวะเตี้ยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี (ประเมินส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ที่มีส่วนสูงห่างจากค่ามัธยฐานตามมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ในช่วงน้อยกว่า -2 SD)
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
รายงานสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (MICS)
2.2.2 ความชุกของภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำแนกตาม (a) ภาวะแคระแกร็น (wasting) (b) ภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) (ประเมินน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ที่มีน้ำหนักเมื่อเทียบกับความสูงห่างจากค่ามัธยฐานตามมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กของ WHO ในช่วงมากกว่า +2 SD หรือต่ำกว่า -2 SD)
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
รายงานสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (MICS)
2.2.3 ความชุกของภาวะโลหิตจาง (anaemia) ในหญิง อายุระหว่าง 15 – 49 ปี จำแนกตามภาวะตั้งครรภ์
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center)
2.3 เพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและรายได้ของผู้ผลิตอาหารรายเล็ก โดยเฉพาะผู้หญิง คนพื้นเมือง ครัวเรือนเกษตรกร เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และชาวประมง ให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยรวมถึงการเข้าถึงที่ดิน ทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ความรู้ บริการทางการเงิน ตลาด และโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มและการจ้างงานนอกภาคการเกษตรอย่างมั่นคงและเท่าเทียม ภายในปี พ.ศ. 2573
2.3.1 ปริมาณการผลิตต่อหน่วยแรงงาน จำแนกตามขนาดกิจการของการทำฟาร์ม/เลี้ยงสัตว์/การป่าไม้
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2.3.2 รายได้เฉลี่ยของเกษตรกรผู้ผลิตอาหาร รายย่อย จำแนกตามเพศ และสถานะพื้นเมือง (เพื่อแยก ชนพื้นเมือง หรือ ชนเผ่า)
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2.4 สร้างหลักประกันว่าจะมีระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืนและดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันเพื่อเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาที่ดินและคุณภาพดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573
2.4.1 สัดส่วนของพื้นที่เกษตรที่มีการทำการเกษตรอย่างมีผลิตภาพและยั่งยืน
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2.5 คงความหลากหลายทางพันธุกรรมของเมล็ดพันธุ์ พืชที่ใช้เพาะปลูก สัตว์ในไร่นาและที่เลี้ยงตามบ้านเรือน และชนิดพันธุ์ตามธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกับพืชและสัตว์เหล่านั้น รวมถึงให้มีธนาคารพืชและเมล็ดพันธุ์ที่มีการจัดการที่ดีและมีความหลากหลาย ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ และสนับสนุนการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์อันเกิดจากการใช้ทรัพยากรทางพันธุกรรมและองค์ความรู้ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ตามที่ตกลงกันระหว่างประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563
2.5.1 จำนวนแหล่งพันธุกรรมพืชและสัตว์เพื่ออาหารและการเกษตรที่เก็บรักษาในสถานที่สำหรับอนุรักษ์ทั้งในระยะกลางและระยะยาว
ที่มา : ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ
2.5.2 สัดส่วนพันธุ์สัตว์ท้องถิ่น ที่จัดอยู่ในระดับความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.a เพิ่มการลงทุน รวมถึงการยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านโครงสร้างพื้นฐานในชนบท การวิจัยและการส่งเสริมการเกษตร การพัฒนาเทคโนโลยี และการทำธนาคารเชื้อพันธุ์พืชและสัตว์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
2.a.1 ดัชนีทิศทางการลงทุนภาครัฐเพื่อการเกษตร (AOI)
มี
การรายงานงบประมาณภาคเกษตรที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2.a.2 กระแสความช่วยเหลือรวม (ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และกระแสความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการอื่น (OOF)) ที่ให้ไปยังภาคการเกษตร
ที่มา : สำนักการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2.b แก้ไขและป้องกันการกีดกันและการบิดเบือนทางการค้าในตลาดเกษตรโลก รวมถึงทางการขจัดการอุดหนุนสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกทุกรูปแบบและมาตรการเพื่อการส่งออกที่ให้ผลในลักษณะเดียวกัน โดยให้เป็นไปตามอาณัติของรอบการพัฒนาโดฮา
2.b.1 การอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตร
ไม่มี
การอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรที่มา : กระทรวงพาณิชย์
2.c ใช้มาตรการเพื่อสร้างหลักประกันว่าตลาดโภคภัณฑ์อาหารและตลาดอนุพันธ์สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลของตลาด รวมถึงข้อมูลคลังสำรองอาหารได้อย่างทันการณ์ เพื่อจำกัดความผันผวนของราคาอาหารที่รุนแรง
2.c.1 ตัวชี้วัดราคาอาหารที่ผิดปกติ (IFPA)
ที่มา : องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
กรณีศึกษาของการดำเนินการในเป้าหมาย SDG 2
โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต
การได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยแรกเกิด ถือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะผลส่งต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว เนื่องจากการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายรวมถึงการมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีความพร้อมทางด้านจิตใจ และสติปัญญา สหประชาชาติจึงกำหนดให้ประเด็นการเข้าถึงสารอาหารที่เพียงพอ… อ่านเพิ่มเติม