17

เป้าหมายที่ 17 เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 17 มุ่งยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลก โดยเฉพาะความร่วมมือหลายภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน ทุกประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ผ่านการระดมทุนที่เป็นตัวเงิน เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนความรู้และแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในการดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ตามความต้องการ จนสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ภายในปี 2573
ข้อมูลล่าสุด: 24 มกราคม 2568

เป้าหมายหลักที่ 17

สถานะข้อมูลปี 2566

ต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต (สถานการณ์ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง (สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 50 - 74 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย (สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 75 - 99 ของค่าเป้าหมาย)
บรรลุค่าเป้าหมาย (บรรลุค่าเป้าหมายร้อยละ 100)
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
ทิศทางการพัฒนา
แนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • แนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • แนวโน้มคงที่
  • แนวโน้มลดลง
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
มาก

การแสดงผลความก้าวหน้าของข้อมูล

อยู่ระหว่างดำเนินการ

17.1 เสริมความเข้มแข็งของการระดมทรัพยากรภายในประเทศ โดยรวมถึงการสนับสนุนระหว่างประเทศแก่ประเทศกำลังพัฒนา เพื่อปรับปรุงขีดความสามารถของประเทศในการเก็บภาษีและรายได้อื่นๆ ของรัฐ

17.1.1 สัดส่วนรายได้ภาครัฐรวม ต่อ GDP จำแนกตามแหล่งที่มาของรายได้

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

17.1.2 สัดส่วนงบประมาณภายในประเทศที่จัดสรรจากภาษีภายในประเทศ

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

17.2. ประเทศพัฒนาแล้วจะดำเนินการให้เป็นผลตามพันธกรณีเรื่องการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) อย่างเต็มที่ โดยรวมถึงพันธกรณีที่ให้ไว้โดยประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศที่จะบรรลุเป้าหมายสัดส่วน ODA/GNI ที่ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา ร้อยละ 0.7 และมีสัดส่วน ODA/GNI ที่ให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ร้อยละ 0.15 ถึง 0.20 โดยผู้ให้ ODA ควรพิจารณาตั้งเป้าหมายที่จะให้มีสัดส่วน ODA/GNI ที่ให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดอย่างน้อยร้อยละ 0.20

17.2.1 ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) สุทธิ ยอดรวม และที่ให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยคิดเป็นสัดส่วนรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ของ ผู้บริจาคที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (Development Assistance Committee) ของ OECD

ที่มา : กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

17.3 ระดมทรัพยากรทางการเงินสำหรับประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มเติม จากแหล่งที่หลากหลาย

17.3.1 สัดส่วนของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) การช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และความร่วมมือ ใต้-ใต้ ต่อรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI)

ที่มา : กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

17.3.2 สัดส่วนของมูลค่าของการโอนเงินกลับประเทศ (เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) ต่อ GDP ทั้งหมด

ที่มา : ธนาคารโลก (WB)

17.4 ช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการบรรลุความยั่งยืนทางการคลัง/หนี้สาธารณะ (debt sustainability) ระยะยาว โดยใช้นโยบายที่สอดคล้องกันในการมุ่งส่งเสริมการใช้แหล่งเงินทุนจากหนี้สิน (debt financing) การบรรเทาหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ตามความเหมาะสม และแก้ปัญหาหนี้ต่างประเทศของประเทศยากจนที่มีหนี้สินในระดับสูงเพื่อลดการประสบปัญหาหนี้ (debt distress)

17.4.1 สัดส่วนภาระหนี้ (debt service) ต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ

ที่มา : สำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง

17.5 ใช้และดำเนินการให้เกิดผลตามระบอบการส่งเสริมการลงทุนสำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

17.5.1 จำนวนประเทศที่ยอมรับและดำเนินการตามกฎเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนของประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

มี

ข้อมูลการส่งเสริมการลงทุนของประเทศ
ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

17.6 เพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคแบบเหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และไตรภาคี รวมถึงการเข้าถึงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และยกระดับการแบ่งปันความรู้ตามข้อตกลงร่วมกัน โดยรวมถึงผ่านการปรับปรุงกลไกประสานงานที่มีอยู่เดิม โดยเฉพาะในระดับของสหประชาชาติ และผ่านกลไกการอำนวยความสะดวกด้านเทคโนโลยี (Technology Facilitation Mechanism) ของโลก

17.6.1 จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ประจำที่ ต่อผู้อยู่อาศัย 100 คน จำแนกตามความเร็ว

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงพาณิชย์

17.7 ส่งเสริมการพัฒนา การถ่ายทอด การเผยแพร่ และการกระจายของเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศกำลังพัฒนาภายใต้เงื่อนไขที่เอื้อประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งตามเงื่อนไขสิทธิพิเศษตามที่ตกลงร่วมกัน

17.7.1 จำนวนเงินทุนรวมที่ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสนับสนุนการพัฒนา การถ่ายทอด และการเผยแพร่ เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง

17.8 ให้ธนาคารเทคโนโลยีและกลไกการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ทำงานได้อย่างเต็มที่ภายในปี พ.ศ. 2560 และเพิ่มพูนการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนที่สำคัญ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

17.8.1 สัดส่วนของประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ต

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ
รายงานดัชนีชี้วัดในกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทย

17.9 เพิ่มพูนการสนับสนุนระหว่างประเทศด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถที่มีประสิทธิผลและมุ่งเป้าในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อสนับสนุนแผนระดับชาติที่ดำเนินการขับเคลื่อนทุกเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงผ่านทางความร่วมมือแบบเหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และไตรภาคี

17.9.1 มูลค่า (ดอลลาร์) ของการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และทางวิชาการ (รวมถึงผ่านความร่วมมือ เหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และไตรภาคี) ที่ได้ให้คำมั่นไว้กับประเทศกำลังพัฒนา

ที่มา : กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

17.10 ส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีที่เป็นสากล มีกติกา เปิดกว้าง ไม่เลือกปฏิบัติ และเสมอภาค ภายใต้องค์การการค้าโลก โดยรวมถึงผ่านข้อสรุปของการเจรจาภายใต้วาระการพัฒนารอบโดฮา

17.10.1 ค่าเฉลี่ยของอัตราภาษีศุลกากรถ่วงน้ำหนักทั่วโลก

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

17.11 เพิ่มส่วนแบ่งการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนาให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมุ่งเพิ่มส่วนแบ่งของประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในการส่งออกทั่วโลกให้สูงขึ้น 2 เท่าในปี พ.ศ. 2563

17.11.1 ส่วนแบ่งของการส่งออกในระดับสากลของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

17.12 ทำให้มีการดำเนินการตามกำหนดเวลาในการเข้าถึงตลาดปลอดภาษีและปลอดการจำกัดปริมาณในระยะยาวสำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยให้สอดคล้องกับคำตัดสินขององค์การการค้าโลก รวมถึงการสร้างหลักประกันว่ากฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่มีการให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดมีความโปร่งใสและเรียบง่าย และมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงตลาด

17.12.1 ภาษีศุลกากรเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ที่ประเทศกำลังพัฒนา ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก เผชิญอยู่

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

17.13 เพิ่มพูนเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาคของโลก โดยรวมถึงผ่านการประสานนโยบายและความสอดคล้องเชิงนโยบาย

17.13.1 ผังติดตามเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Dashboard)

มี

พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 (แผนการคลังระยะกลาง ทุก 3 ปี)
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

17.14 ยกระดับความสอดคล้องเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

17.14.1 จำนวนประเทศที่มีกลไกเสริมสร้างนโยบายให้มีความสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

มี

แผนขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย (Thailand SDG Roadmap) 6 ยุทธศาสตร์หลัก
ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

17.15 เคารพพื้นที่ทางนโยบายและความเป็นผู้นำของแต่ละประเทศที่จะจัดทำและดำเนินการตามนโยบายเพื่อการขจัดความยากจนและการพัฒนาที่ยั่งยืน

17.15.1 ขอบเขตการใช้กรอบผลลัพธ์และเครื่องมือการวางแผนที่ประเทศเป็นเจ้าของโดยผู้ให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

มี

ขอบเขตการใช้กรอบผลลัพธ์และเครื่องมือการวางแผนที่ประเทศเป็นเจ้าของโดยผู้ให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
ที่มา : กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

17.16 ยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการเสริมสร้างความร่วมมือจากภาคส่วนที่หลากหลายในการระดมและแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และทรัพยากรทางการเงิน เพื่อจะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา

17.16.1 จำนวนประเทศที่รายงานความก้าวหน้าตามกรอบการติดตามประสิทธผลของการพัฒนาที่มีผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลาย ที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

มี

การรายงานความก้าวหน้าตามกรอบการติดตามประสิทธิผลของการพัฒนาที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย ที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ที่มา : กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

17.17 สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยต่อยอดจากประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านการระดมทรัพยากรของหุ้นส่วน

17.17.1 จำนวนเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีภาระผูกพันให้ใช้ในโครงการความร่วมมือภาครัฐ-เอกชนด้านโครงสร้างพื้นฐาน

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง

17.18 ยกระดับการสนับสนุนด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มข้อมูลที่พร้อมใช้ มีคุณภาพสูง ทันเวลาและเชื่อถือได้ จำแนกตามรายได้ เพศ อายุ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ สถานะการอพยพ ความพิการ ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ และคุณลักษณะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามบริบทของประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563

17.18.1 ตัวชี้วัดขีดความสามารถเชิงสถิติเพื่อการติดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

มี

การจัดทำตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทย (national indicators) อาทิ เพศ อายุ และพื้นที่
ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

17.18.2 จำนวนประเทศที่มีกฎหมายทางสถิติของประเทศ ที่สอดคล้องกับหลักพื้นฐานของสถิติทางการ

มี

(1) พระราชบัญญัติสถิติปี 2550 สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) (2) แผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570)
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

17.18.3 จำนวนประเทศที่มีแผนสถิติระดับประเทศที่ได้รับเงินทุนอย่างเต็มที่ และอยู่ระหว่างการดำเนินการให้บรรลุ จำแนกตามแหล่งเงินทุน

มี

แผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570)
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

17.19 ต่อยอดจากข้อริเริ่มที่มีอยู่ในการพัฒนาการวัดความก้าวหน้าของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และสนับสนุนการสร้างขีดความสามารถด้านสถิติในประเทศกำลังพัฒนา ภายในปี พ.ศ. 2573

17.19.1 มูลค่าเงินดอลลาร์ของทรัพยากรที่ใช้ในการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านสถิติของประเทศกำลังพัฒนา

ไม่มี

ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้

17.19.2 สัดส่วนของประเทศที่ a) มีการดำเนินการสำมะโนประชากรและสำมะโนครัวเรือนอย่างน้อยหนึ่งครั้งในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และ b) มีการจดทะเบียนเกิด ร้อยละ 100 และ จดทะเบียนการตาย ร้อยละ 80

ไม่มี

การจัดทำสำมะโนประชากรและเคหะอย่างน้อยหนึ่งครั้งในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

กรณีศึกษาของการดำเนินการในเป้าหมาย SDG 17

Case study – SDG 17

การทูตเพื่อการพัฒนา: ไทยสนับสนุนติมอร์ เลสเต ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน
ภายหลังสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเตได้รับเอกราชจากอินโดนีเซีย ไทยได้ให้ความช่วยเหลือติมอร์-เลสเตเพื่อส่งเสริมการพัฒนาประเทศของติมอร์-เลสเต ในด้านต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้ติมอร์ เลสเต สามารถพัฒนาได้อย่างครอบคลุมและยั่งยืน ในปัจจุบัน ไทยและติมอร์-เลสเต อยู่ระหว่างการจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ระยะ 3 ปี ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2563-2565)

อ่านเพิ่มเติม
Goal-1Goal-2Goal-3Goal-4Goal-5Goal-6Goal-7Goal-8Goal-9Goal-10Goal-11Goal-12Goal-13Goal-14Goal-15Goal-16Goal-17

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save