เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ
สังคมที่สงบสุขจะต้องมีความมั่นคง มีสันติภาพ ประชาชนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน และมีระบบการปกครองบนพื้นฐานของหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 16 มุ่งเน้นการตัดวงจรความขัดแย้ง การข่มเหง การแสวงหาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ การใช้ความรุนแรงและการทรมานทุกรูปแบบ เพื่อสร้างความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน และสร้างหลักประกันว่าทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียม มีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม และมีส่วนร่วมในทุกระดับ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาเชิงสถาบันให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายหลักที่ 16
สถานะข้อมูลปี 2566
- แนวโน้มเพิ่มขึ้น
- แนวโน้มคงที่
- แนวโน้มลดลง
การแสดงผลความก้าวหน้าของข้อมูล
อยู่ระหว่างดำเนินการ
16.1 ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องในทุกแห่งให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
16.1.1 จำนวนเหยื่อฆาตกรรม ต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตามเพศ และอายุ
16.1.2 การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตาม อายุ เพศ และสาเหตุ
16.1.3 สัดส่วนของประชากรที่ได้รับ (a) ความรุนแรงทางร่างกาย (b) จิตใจ และ (c) ทางเพศ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
16.1.4 สัดส่วนประชากรที่รู้สึกปลอดภัยเมื่อเดินในบริเวณพื้นที่ที่อาศัยเพียงลำพัง
16.2 ยุติการข่มเหง การใช้หาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ และความรุนแรงและการทรมานทุกรูปแบบที่มีต่อเด็ก
16.2.1 สัดส่วนของเด็กอายุ 1-17 ปี ที่เคยถูกทำร้ายทางร่างกาย และ/หรือข่มเหงทางจิตใจโดยผู้ดูแลในเดือนที่ผ่านมา
16.2.2 จำนวนเหยื่อการค้ามนุษย์ต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตามเพศ อายุ และรูปแบบการแสวงหาประโยชน์
16.2.3 สัดส่วนของผู้หญิงและผู้ชาย อายุ 18-29 ปีที่เคยถูกกระทำความรุนแรงทางเพศก่อนอายุ 18 ปี
16.3 ส่งเสริมหลักนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ และสร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียม
16.3.1 ร้อยละของเหยื่อความรุนแรงใน 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งได้แจ้งการกระทำอันรุนแรงนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจหน้าที่ หรือกลไกทางการในการยุติข้อขัดแย้ง
16.3.2 สัดส่วนของจำนวนผู้ต้องขังที่ศาลยังไม่พิพากษาต่อจำนวนนักโทษทั้งหมด
16.3.3 สัดส่วนประชากรที่มีปัญหาความขัดแย้งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และผู้ที่เข้าถึงกลไกการแก้ปัญหาความขัดแย้งทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จำแนกตามประเภทของกลไก
16.4 ลดการลักลอบเคลื่อนย้ายอาวุธและเงิน เสริมความแข็งแกร่งของกระบวนการติดตามและการส่งคืนสินทรัพย์ที่ถูกขโมยไป และต่อสู้กับอาชญากรรมที่จัดตั้งในลักษณะองค์กรทุกรูปแบบ ภายในปี พ.ศ. 2573
16.4.1 มูลค่ารวมทั้งหมดของกระแสเข้าออกของเงินที่ผิดกฎหมาย (หน่วยเป็น ดอลลาร์สหรัฐ)
16.4.2 สัดส่วนของอาวุธ (อาวุธเล็กและอาวุธเบา) ที่ถูกยึด ค้นพบและส่งมอบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ติดตามและระบุแหล่งที่มาหรือบริบทที่ผิดกฎหมายของอาวุธ โดยเป็นไปตามมาตรฐานและเครื่องมือทางกฎหมายระหว่างประเทศ
16.5 ลดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และการรับสินบนทุกรูปแบบ
16.5.1 สัดส่วนของบุคคลที่เคยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างน้อย 1 ครั้ง และมีการให้สินบนหรือถูกเรียกสินบนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา
16.5.2 สัดส่วนขององค์กรธุรกิจที่เคยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างน้อย 1 ครั้ง และมีการให้สินบน หรือถูกเรียกสินบนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา
16.6 พัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิผล มีความรับผิดชอบ และโปร่งใสในทุกระดับ
16.6.1 การใช้จ่ายภาครัฐขั้นพื้นฐานคิดเป็นสัดส่วนของงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติแล้ว จำแนกเป็น ภาค (หรือจำแนกตามรหัสงบประมาณ หรือที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
16.6.2 สัดส่วนประชากรที่พึงพอใจกับบริการสาธารณะครั้งล่าสุดที่ตนได้ใช้บริการ
16.7 สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ
16.7.1 สัดส่วนตำแหน่งในสถาบันของรัฐระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ซึ่งรวมถึง (a) สภานิติบัญญัติ (b) บริการสาธารณะ และ (c) คณะตุลาการ เปรียบเทียบกับการกระจายตัวในระดับชาติ โดยจำแนกตามเพศ อายุ ผู้พิการ และกลุ่มประชากร)
16.7.2 สัดส่วนของประชากรที่เชื่อว่ามีกระบวนการตัดสินใจที่ครอบคลุมและตอบสนองความต้องการ จำแนกตามเพศ อายุ ความพิการ และกลุ่มประชากร
16.8 ขยายและเสริมความแข็งแกร่งของการมีส่วนร่วมของประเทศกำลังพัฒนาในสถาบันที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลโลก
16.8.1 สัดส่วนของสมาชิก และสิทธิการออกเสียงของประเทศกำลังพัฒนาในองค์กรระหว่างประเทศ
16.9 จัดให้มีอัตลักษณ์ทางกฎหมายสำหรับทุกคน โดยรวมถึงการจดทะเบียนการเกิด ภายในปี พ.ศ. 2573
16.9 จัดให้มีอัตลักษณ์ทางกฎหมายสำหรับทุกคน โดยรวมถึงการจดทะเบียนการเกิด ภายในปี พ.ศ. 2573
16.10 สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่างประเทศ
16.10.1 จำนวนคดีที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นความจริงเกี่ยวกับการฆาตกรรม (killing) การลักพาตัว (kidnapping) การอุ้มหาย (enforced disappearance) การควบคุมตัวโดยพลการ (arbitrary detention) การทรมาน (torture) ที่กระทำต่อผู้สื่อข่าว บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสื่อ สหภาพแรงงาน และผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
16.10.2 จำนวนประเทศที่ใช้และดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและ/หรือนโยบายที่รับประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
มี
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 254016.a เสริมความแข็งแกร่งของสถาบันระดับชาติที่เกี่ยวข้อง โดยรวมถึงการดำเนินการผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อสร้างขีดความสามารถในทุกระดับ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อจะป้องกันความรุนแรงและต่อสู้กับการก่อการร้ายและอาชญากรรม
16.a.1 การมีองค์กรอิสระด้านสิทธิมนุษยชน ที่ สอดคล้องกับหลักสนธิสัญญาปารีส (Paris Principles)
มี
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 254416.b ส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
16.b.1 สัดส่วนของประชากรที่รายงานว่ารู้สึกถูกเลือกปฏิบัติ หรือถูกข่มขู่/คุกคามในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ตามข้อบัญญัติพื้นฐานของการห้ามเลือกปฏิบัติภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
กรณีศึกษาของการดำเนินการในเป้าหมาย SDG 16
“Leaving No One Behind ด้วยกองทุนยุติธรรม”
“Leaving No One Behind ด้วยกองทุนยุติธรรม”
“…ความยากจนเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงความยุติธรรม เพราะกระบวนการดำเนินคดีมีค่าใช้จ่ายสูง” ด้วยการตระหนักรู้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมข้างต้น ประเทศไทยนำโดยกระทรวงยุติธรรมจึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น ผ่านการดำเนินการเชิงรุกในสองรูปแบบคือ (1) การส่งเสริมความรู้แก่สังคมให้เข้าใจถึงหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (2) การลดช่องว่างในการเข้าถึงความยุติธรรม ผ่านการให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับผู้ได้รับความเดือดร้อนในการดำเนินการของกระบวนการดำเนินคดีต่าง ๆ โดยภารกิจข้างต้นเป็นสิ่งที่ประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ