15

เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน

ระบบนิเวศบนบกมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เช่นเดียวกับระบบนิเวศทางทะเล กว่าร้อยละ 80 ของอาหารมนุษย์มาจากพืช และมนุษย์พึ่งพาการเกษตรเป็นแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่สำคัญ นอกจากนี้ ป่าไม้ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของสิ่งมีชีวิตนับล้านชนิด รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำและอากาศที่สะอาด และมีความสำคัญต่อการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ในทุกๆ ปี เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่ากว่า 13 ล้านเฮกเตอร์ (ประมาณ 81 ล้านไร่) ทั่วโลก และการเสื่อมโทรมของที่ดินส่งผลให้เกิดการกลายเป็นทะเลทรายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่ยากจนทั่วโลก การลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เป้าหมายที่ 15 มุ่งอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน สนับสนุนให้มีการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อลดความสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งดำเนินการให้มีความมั่นคงทางอาหารและน้ำ และสร้างศักยภาพในด้านการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ข้อมูลล่าสุด: 24 มกราคม 2568

เป้าหมายหลักที่ 15

สถานะข้อมูลปี 2566

ต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต (สถานการณ์ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง (สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 50 - 74 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย (สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 75 - 99 ของค่าเป้าหมาย)
บรรลุค่าเป้าหมาย (บรรลุค่าเป้าหมายร้อยละ 100)
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
ทิศทางการพัฒนา
แนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • แนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • แนวโน้มคงที่
  • แนวโน้มลดลง
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
มาก

การแสดงผลความก้าวหน้าของข้อมูล

อยู่ระหว่างดำเนินการ

15.1 สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ระบบนิเวศบนบกและแหล่งน้ำจืดในแผ่นดิน รวมทั้งบริการทางระบบนิเวศอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ ภูเขาและพื้นที่แห้งแล้ง โดยเป็นไปตามข้อบังคับภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563

15.1.1 สัดส่วนของพื้นที่ป่าไม้ต่อพื้นที่ดินทั้งหมด

ที่มา : กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

15.1.2 สัดส่วนของพื้นที่สำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั้งทางบกและแหล่งน้ำจืด ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครอง จำแนกตามประเภทระบบนิเวศ

ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

15.2 ส่งเสริมการดำเนินการด้านการบริหารจัดการป่าไม้ทุกประเภทอย่างยั่งยืน หยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า ฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม และเพิ่มการปลูกป่าและฟื้นฟูป่าทั่วโลกอย่างจริงจัง ภายในปี พ.ศ. 2563

15.2.1 ความก้าวหน้าในการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน

มี

แนวทางปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570)
ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

15.3 ต่อต้านการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ฟื้นฟูที่ดินและดินที่เสื่อมโทรม รวมถึงที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ภัยแล้ง และอุทกภัย และพยายามที่จะบรรลุถึงความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน ภายในปี พ.ศ. 2573

15.3.1 สัดส่วนของที่ดินที่ถูกทำให้เสื่อมโทรมต่อพื้นที่ทั้งหมด

ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

15.4 สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ระบบนิเวศภูเขาและความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศเหล่านั้น เพื่อเพิ่มพูนขีดความสามารถของระบบนิเวศในการสร้างผลประโยชน์อันสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2573

15.4.1 ขอบเขตของพื้นที่คุ้มครองที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพบนภูเขา

ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

15.4.2 (a) ดัชนีพื้นที่ภูเขาสีเขียว (Mountain Green Cover Index) และ (b) สัดส่วนที่ดินภูเขาที่เสื่อมโทรม

ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

15.5 ปฏิบัติการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อลดการเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ หยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และภายในปี พ.ศ. 2563 ปกป้องและป้องกันการสูญพันธุ์ของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม

15.5.1 ดัชนีบัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม (Red List Index)

ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

15.6 ส่งเสริมการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม และส่งเสริมการเข้าถึงทรัพยากรเหล่านั้นอย่างเหมาะสม ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ

15.6.1 จำนวนประเทศที่มีการใช้กรอบทางกฎหมาย กรอบการบริหารงาน และกรอบนโยบาย ที่ประกันความเป็นธรรมและความเท่าเทียมในการแบ่งปันผลประโยชน์

ไม่มี

การบังคับใช้กฎหมายที่กำหนดกลไกให้สอดคล้องกับพันธกรณีตามพิธีสารนาโงยา เนื่องจากไม่ได้ให้สัตยาบันในพิธีสารดังกล่าว

15.7 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อจะยุติการล่าและการขนย้ายชนิดพันธุ์พืชและสัตว์คุ้มครอง และแก้ปัญหาทั้งอุปสงค์และอุปทานต่อผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย

15.7.1 สัดส่วนของการค้าสัตว์ป่าที่ถูกล่าหรือถูกขนย้ายอย่างผิดกฎหมาย

มี

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

15.8 นำมาตรการเพื่อป้องกันการนำเข้าและลดผลกระทบของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานต่อระบบนิเวศบกและน้ำ และควบคุมหรือขจัด priority species ภายในปี พ.ศ. 2563

15.8.1 สัดส่วนประเทศที่ใช้กฎหมายระดับชาติที่เกี่ยวข้อง และจัดสรรทรัพยากรเพื่อป้องกันหรือควบคุมชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ถูกรุกรานอย่างเพียงพอ

มี

มาตรการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ
ที่่มา : กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

15.9 บูรณาการมูลค่าของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปสู่การจัดทำแผน กระบวนการพัฒนา ยุทธศาสตร์การลดความยากจน และบัญชีทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563

15.9.1 (a) จำนวนประเทศที่กำหนดเป้าหมายระดับชาติที่สอดคล้องหรือใกล้เคียงกับเป้าประสงค์ที่ 2 ของ Aichi Biodiversity ของแผนยุทธศาสตร์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 2011-2020 ไว้ในยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ (NBSAP) และมีรายงานความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว (b) บูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพในระบบการรายงานและบัญชีประชาชาติ (การดำเนินการตามระบบบัญชีเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม SEEA)

มี

มาตรการระดับชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (NBSAP) เพื่อเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินงานเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพในภาพรวมของประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539
ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

15.a ระดมและเพิ่มทรัพยากรทางการเงินจากทุกแหล่ง เพื่ออนุรักษ์และใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

15.a.1 (a) มูลค่าการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และการใช้จ่ายของรัฐด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน (b) รายได้และเงินทุนจากการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ

มี

การช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่มา : สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ

15.b ระดมทรัพยากรจากทุกแหล่งและทุกระดับเพื่อสนับสนุนเงินแก่การบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมสำหรับประเทศกำลังพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าในการบริหารจัดการ ซึ่งรวมถึงการอนุรักษ์และการปลูกป่า

15.b.1 (a) มูลค่าการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และการใช้จ่ายของรัฐด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน (b) รายได้และเงินทุนจากการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ

มี

การช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่มา : สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

15.c เพิ่มพูนการสนับสนุนในระดับโลกแก่ความพยายามที่จะต่อสู้กับการล่า การเคลื่อนย้ายชนิดพันธุ์คุ้มครอง รวมถึงโดยการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น

15.c.1 สัดส่วนของการค้าสัตว์ป่าที่ถูกล่าหรือถูกขนย้ายอย่างผิดกฎหมาย

มี

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กรณีศึกษาของการดำเนินการในเป้าหมาย SDG 15

ปฏิรูปการปกป้องพื้นป่าด้วยเทคโนโลยี กับ SMART Patrol System

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าครอบคลุมกว่า 102 ล้านไร่ โดยในปี 2561 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นกว่า 332,000 ไร่ (อ้างอิงข้อมูลการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ปี 2560-2561 โดยกรมป่าไม้) ด้วยข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าภารกิจในการปกป้องพื้นป่าของไทยนั้นครอบคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 32 ของประเทศและนับเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาพื้นป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งในแง่พืชพันธุ์และสัตว์ป่า

อ่านเพิ่มเติม
Goal-1Goal-2Goal-3Goal-4Goal-5Goal-6Goal-7Goal-8Goal-9Goal-10Goal-11Goal-12Goal-13Goal-14Goal-15Goal-16Goal-17

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save