เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาสมุทรและทะเลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ไม่ว่าจะเป็นวัฏจักรฝน น้ำดื่ม ภูมิอากาศ ชายฝั่ง รวมถึงแหล่งอาหารและกิจกรรมต่าง ๆ ล้วนเกี่ยวข้องกับมหาสมุทรและทะเล ด้วยเหตุนี้ การบริหารจัดการทรัพยากรในมหาสมุทรและทะเลจึงมีความซับซ้อนและมีความเกี่ยวข้องกับมิติสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม กฎระเบียบและกฎหมายระหว่างประเทศ ในส่วนของประเทศไทยมีพื้นที่ทะเลและชายฝั่ง คิดเป็นร้อยละ 60 ของอาณาเขตทางบก ครอบคลุม 23 จังหวัด ทรัพยากรทางทะเลเหล่านี้ได้สร้างประโยชน์มหาศาลในการหล่อเลี้ยงชีวิต และยังเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ปัญหาท้องทะเลไทยที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มลพิษทางทะเล ปรากฏการณ์ทะเลกรด (Ocean Acidification) การกัดเซาะชายฝั่ง ปริมาณสัตว์ทะเลลดลง รวมถึงด้านการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทะเลและชายฝั่ง ได้แก่ ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และการควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated (IUU) Fishing) และการทำประมงพื้นบ้าน จากความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นกับมหาสมุทรและท้องทะเล จึงเป็นที่มาของการดำเนินการภายใต้ SDG 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยประเทศไทยได้บูรณาการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทรัพยากรท้องทะเลไทยฟื้นฟูกลับสู่ความสมบูรณ์ รวมถึงปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกมิติด้านการพัฒนา เพื่อสร้างความยั่งยืนของท้องทะเลไทยให้คงอยู่ต่อไปในอนาคตเป้าหมายหลักที่ 14
สถานะข้อมูลปี 2566
- แนวโน้มเพิ่มขึ้น
- แนวโน้มคงที่
- แนวโน้มลดลง
การแสดงผลความก้าวหน้าของข้อมูล
อยู่ระหว่างดำเนินการ
14.1 ป้องกันและลดมลพิษทางทะเลทุกประเภทอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากกิจกรรมบนแผ่นดิน รวมถึงเศษซากขยะในทะเลและมลพิษจากธาตุอาหาร (nutrient pollution) ภายในปี พ.ศ. 2568
(a) ดัชนีของปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชัน (utrophication) และ (b) ความหนาแน่นของขยะพลาสติกในทะเล
14.2 บริหารจัดการและปกป้องระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางลบที่มีนัยสำคัญ รวมถึงการเสริมภูมิต้านทานและปฏิบัติการเพื่อบรรลุการมีมหาสมุทรที่มีสุขภาพดีและมีผลิตภาพ ภายในปี พ.ศ. 2563
14.2.1 การใช้แนวทางเชิงระบบนิเวศในการบริหารจัดการพื้นที่ทางทะเล
14.3 ลดและแก้ปัญหาผลกระทบจากภาวะการเป็นกรดในมหาสมุทร โดยรวมถึงผ่านทางการเพิ่มพูนความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ในทุกระดับ
14.3.1 ค่าความเป็นกรดในทะเลเฉลี่ย (pH) โดยวัดจากสถานีสุ่มตัวอย่าง
14.4 ภายในปี พ.ศ. 2563 ให้กำกับการทำการประมงอย่างมีประสิทธิผล และยุติการประมงเกินขีดจำกัด การประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) และยุติแนวปฏิบัติด้านการประมงที่เป็นไปในทางทำลาย รวมทั้งดำเนินการให้เป็นผลตามแผนการบริหารจัดการที่อยู่บนฐานวิทยาศาสตร์ เพื่อจะฟื้นฟูมวลสัตว์น้ำ (fish stock) อย่างน้อยที่สุดให้อยู่ในระดับผลผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน (maximum sustainable yield) ตามคุณลักษณะทางชีววิทยาของสัตว์น้ำเหล่านั้นภายในเวลาที่สั้นที่สุดที่จะเป็นไปได้
14.4.1 สัดส่วนของมวลสัตว์น้ำ (fish stocks) ที่อยู่ในระดับความยั่งยืนทางชีวภาพ
14.5 ภายในปี พ.ศ. 2563 อนุรักษ์พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งอย่างน้อยร้อยละ 10 โดยให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศและภายในประเทศ และอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่มีอยู่
14.5.1 ขอบเขตของพื้นที่คุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล
14.6 ภายในปี พ.ศ. 2563 ยับยั้งการอุดหนุนการประมงบางรูปแบบที่มีส่วนทำให้เกิดการประมงเกินขีดจำกัด ขจัดการอุดหนุนที่มีส่วนทำให้เกิดการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม และระงับการริเริ่มการอุดหนุนในลักษณะดังกล่าว โดยตระหนักว่าการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่างที่เหมาะสมและมีประสิทธิผลสำหรับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ควรเป็นส่วนควบในการเจรจาการอุดหนุนการประมงขององค์การการค้าโลก
14.6.1 ระดับความก้าวหน้าการดำเนินการใช้เครื่องมือ/กลไกระหว่างประเทศ เพื่อต่อสู้กับการประมงที่ ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม
14.7 ภายในปี พ.ศ. 2573 เพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็กและประเทศกลุ่มพัฒนาน้อยที่สุดจากการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน รวมถึงผ่านทางการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนในด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการท่องเที่ยว
14.7.1 สัดส่วนของผลผลิตจากการประมงที่ยั่งยืนต่อ GDP ในรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และทุกประเทศ
14.a เพิ่มความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาขีดความสามารถในการวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทะเล โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทะเลของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ เพื่อจะปรับปรุงคุณภาพของมหาสมุทรและเพิ่มพูนให้ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะในรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็กและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
14.a.1 สัดส่วนงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อการวิจัยในด้านเทคโนโลยีทางทะเล
14.b จัดให้ชาวประมงพื้นบ้านรายเล็กเข้าถึงทรัพยากรทางทะเลและตลาด
14.b.1 ระดับความก้าวหน้าในการใช้และดำเนินการด้านข้อกฎหมาย / ข้อบังคับ / นโยบาย / กรอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่ตระหนักและปกป้องสิทธิของการทำประมงขนาดเล็ก
14.c เพิ่มพูนการอนุรักษ์และการใช้มหาสมุทรและทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยการดำเนินการให้เกิดผลตามกฎหมายระหว่างประเทศตามที่สะท้อนใน UNCLOS ซึ่งเป็นกรอบทางกฎหมายสำหรับการอนุรักษ์และการใช้มหาสมุทรและทรัพยากรเหล่านั้นอย่างยั่งยืน ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 158 ของเอกสาร The Future We Want
14.c.1 ความก้าวหน้าในการให้สัตยาบัน ยอมรับ และนำกรอบการทำงานเชิงกฎหมาย/ นโยบาย/สถาบัน และเครื่องมือในการแปลงกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับมหาสมุทรมาใช้ ดังที่สะท้อนอยู่ใน UNCLOS เพื่อการอนุรักษ์ และการใช้มหาสมุทรและทรัพยากรอย่างยั่งยืน
กรณีศึกษาของการดำเนินการในเป้าหมาย SDG 14
Case study – SDG 14
แนวคิด SEACOSYSTEM เพื่อทะเลไทยยั่งยืน แนวคิด SEACOSYSTEM เป็นความร่วมมือในการพัฒนาและฟื้นฟูท้องทะเลไทยระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และชุมชนเจ้าของพื้นที่ ในการจัดการกับปัญหาทะเลไทยที่กำลังเข้าสู่ระยะวิกฤติจากปัญหาขยะในทะเล ปะการังฟอกขาว ปะการังเสื่อมโทรม การสูญพันธุ์ของมวลสัตว์น้ำ ตลอดจนผลกระทบต่อการทำประมงพื้นบ้าน เป็นต้น ซึ่งแนวคิด SEACOSYSTEM จะยึดหลักการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและฟื้นฟูการประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืนผ่านการดำเนินโครงการที่หลากหลาย โดยเน้นความสำคัญ 5 ด้าน ตั้งแต่ นโยบายในการพัฒนารูปแบบการทำธุรกิจที่ยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน (SD in Process) โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ชูการทำงาน