13
เป้าหมายที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นความท้าทายสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของฤดูกาล การเกิดภัยพิบัติ การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการเปลี่ยนรูปแบบการกระจายของเชื้อโรคและพาหะนำโรค โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ ก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และมีเทน (CH4) ที่มีแหล่งกำเนิดหลักมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลจากการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เป็นองค์ประกอบสำคัญ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีความถี่และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมากต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง โดยเฉพาะในระดับชุมชนและท้องถิ่นที่ยังมีขีดความสามารถด้านการรับมือกับภัยพิบัติที่จำกัด ซึ่งประชาคมโลกได้ร่วมกันหารือถึงแนวทางความร่วมมือเพื่อร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และได้พัฒนามาเป็นความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก เพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวและฟื้นตัวจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหาร และทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อสนับสนุนแนวทางการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ มีภูมิต้านทานและสามารถฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559เป้าหมายหลักที่ 13
สถานะข้อมูลปี 2566
n/a
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต
(สถานการณ์ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง
(สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 50 - 74 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย
(สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 75 - 99 ของค่าเป้าหมาย)
บรรลุค่าเป้าหมาย
(บรรลุค่าเป้าหมายร้อยละ 100)
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
ทิศทางการพัฒนา
แนวโน้มลดลง
- แนวโน้มเพิ่มขึ้น
- แนวโน้มคงที่
- แนวโน้มลดลง
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
น้อย
การแสดงผลความก้าวหน้าของข้อมูล
อยู่ระหว่างดำเนินการ
13.1 เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ
13.1.1 จำนวนผู้เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยพิบัติต่อประชากร 100,000 คน (ภัยพิบัติ รวมถึง อุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย และภัยแล้ง)
ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
13.1.2 จำนวนประเทศที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับประเทศที่สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 - 2573
มี
แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
13.1.3 สัดส่วนของหน่วยงานระดับท้องถิ่นที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ
ที่มา : กระทรวงมหาดไทย
13.2 บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการจัดทำแผนระดับชาติ
13.2.1 จำนวนประเทศที่มีเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (NDCs) ยุทธศาสตร์ระยะยาว แผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์ในรายงานการดำเนินงานด้านการปรับตัว (Adaptation communications) และในรายงานแห่งชาติ (National communications)
มี
การจัดทำยุทธศาสตร์ระยะยาว แผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (NAP) และยุทธศาสตร์ในรายงานการดําเนินงานด้านการปรับตัว (Adaptation communications)ที่มา : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
13.2.2 ปริมาณรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต่อปี
ที่มา : กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
13.3 พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวและลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเตือนภัยล่วงหน้า
13.3.1 ระดับการดำเนินการเพื่อบรรจุ (i) การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก และ (ii) การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเรื่องหลักใน (a) นโยบายการศึกษาของประเทศ (b) หลักสูตร (c) การศึกษาของครู และ (d) การประเมินผลนักเรียน
ที่มา : UNESCO BANGKOK
13.a ดำเนินการให้เกิดผลตามพันธกรณีที่ผูกพันต่อประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งเป็นภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีเป้าหมายร่วมกันระดมทุนจากทุกแหล่งให้ได้จำนวน 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศกำลังพัฒนา ภายใต้บริบทของการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจนและมีความโปร่งใส ตลอดจนเร่งระดมทุนเพื่อให้กองทุน Green Climate Fund ดำเนินการได้อย่างเต็มที่โดยเร็วที่สุด
13.a.1 ปริมาณเงินดอลลาร์สหรัฐที่ระดมได้ต่อปี เทียบเคียงกับเป้าหมายการระดมทุนสะสมต่อเนื่องให้ได้ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐตามพันธะสัญญาจนถึงปี พ.ศ. 2568
ไม่มี
ไม่มีการดำเนินการสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้13.b ส่งเสริมกลไกในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการจัดทำแผนและการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิผลในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก รวมถึงการให้ความสำคัญต่อผู้หญิง เยาวชน ชุมชนท้องถิ่นและชุมชนชายขอบ
13.b.1 จำนวนประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ที่มีเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (NDCs) ยุทธศาสตร์ระยะยาว แผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์ในรายงานการดำเนินงานด้านการปรับตัว (Adaptation communications) และ ในรายงานแห่งชาติ (National communications)
ไม่มี
ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทไทยกรณีศึกษาของการดำเนินการในเป้าหมาย SDG 13
โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย
Thailand Voluntary Emission Reduction Program (T-VER) เป็นโครงการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศด้วยความสมัครใจ โดยสามารถนำปริมาณการลดหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่ผ่านการรับรอง ที่เรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” ไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศได้ ตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนการพัฒนาโครงการที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) กำหนด