เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
การขับเคลื่อนรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน มีความสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนบนพื้นฐานของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ตระหนักถึงต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและบริการของบริษัท องค์กร ตลอดจนกรอบคิดและพฤติกรรมของประชาชน ให้มีความสอดคล้องกับความสามารถในการรองรับของธรรมชาติ ผ่านการดำเนินงานอย่างบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ตั้งแต่ระดับนโยบายตลอดจนการนำไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่อย่างครอบคลุมและเป็นรูปธรรมในประเด็นต่าง ๆ อาทิ การกำหนดให้มีแผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของประเทศ การลดการสูญเสียและขยะอาหารตลอดห่วงโซ่อุปทาน การจัดการของเสียและสารเคมีอย่างถูกวิธีเพื่อลดมลพิษที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การลดของเสียโดยสนับสนุนหลักปฏิบัติในการลดการใช้ การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reduce, Reuse, Recycle: 3Rs) การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อยกระดับการผลิตและการบริโภค การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดเพื่อขับเคลื่อนประเทศในระยะยาวเป้าหมายหลักที่ 12
สถานะข้อมูลปี 2566
- แนวโน้มเพิ่มขึ้น
- แนวโน้มคงที่
- แนวโน้มลดลง
การแสดงผลความก้าวหน้าของข้อมูล
อยู่ระหว่างดำเนินการ
12.1 ดำเนินการให้เป็นผลตามกรอบการดำเนินงานระยะ 10 ปี ว่าด้วยแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยทุกประเทศนำไปปฏิบัติและมีประเทศพัฒนาแล้วเป็นผู้นำ โดยคำนึงถึงการพัฒนาและขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนา
12.1.1 จำนวนประเทศที่มีการพัฒนาหรือนำใช้เครื่องมือการดำเนินนโยบายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
มี
แผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน พ.ศ. 2560 - 2580 (ฉบับปรับปรุง)12.2 บรรลุการจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในปี พ.ศ. 2573
12.2.1 ร่องรอยการใช้วัตถุดิบ (Material Footprint) ร่องรอยการใช้วัตถุดิบต่อหัวประชากร และต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
12.2.2 การบริโภควัตถุดิบในประเทศ การบริโภควัตถุดิบในประเทศต่อหัวประชากร และต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
12.3 ลดของเสียอาหาร (food waste) ต่อหัวประชากรของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหาร (food loss) ตลอดการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ภายในปี พ.ศ. 2573
12.3.1 (a) ดัชนีการสูญเสียอาหาร (b) ดัชนีของเสียอาหาร
12.4 บรรลุเรื่องการจัดการสารเคมีและของเสียทุกชนิดตลอดวงจรชีวิตด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่ตกลงกัน และลดการปล่อยสารเคมีและของเสียสู่อากาศ น้ำ และดินอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อจะลดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด ภายในปี พ.ศ. 2563
12.4.1 จำนวนภาคีสมาชิกของข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมด้านของเสียอันตรายและสารเคมีอื่น ๆ ที่บรรลุวัตถุประสงค์ของพันธกรณีและข้อผูกพันในการถ่ายทอดข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในแต่ละข้อตกลงที่เกี่ยวข้อง
12.4.2 (a)ของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นต่อหัวประชากร และ (b) สัดส่วนของเสียอันตรายที่ได้รับการบำบัด จำแนกตามประเภทการบำบัด
12.5 ลดการเกิดของเสียอย่างมีนัยสำคัญด้วยการป้องกัน การลดปริมาณ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ภายในปี พ.ศ. 2573
12.5.1 อัตราการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (recycling rate) ในระดับประเทศ (จำนวนตันของวัสดุที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่)
12.6 สนับสนุนให้บริษัท โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติและบริษัทขนาดใหญ่ รับแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนไปใช้ และผนวกข้อมูลด้านความยั่งยืนไว้ในรอบการรายงานของบริษัท
12.6.1 จำนวนบริษัทที่ตีพิมพ์รายงานความยั่งยืน (ตัวชี้วัดเทียบเคียง รายงานความยั่งยืนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์)
12.7 ส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่ยั่งยืน ให้สอดคล้องกับนโยบายและการจัดลำดับความความสำคัญของประเทศ
12.7.1 ระดับการดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติการด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่ยั่งยืน
มี
แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 - 257012.8 สร้างหลักประกันว่าประชาชนในทุกแห่งมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องและมีความตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนและวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ภายในปี พ.ศ. 2573
12.8.1 ระดับการดำเนินการเพื่อบรรจุ (i) การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก และ (ii) การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเรื่องหลักใน (a) นโยบายการศึกษาของประเทศ (b) หลักสูตร (c) การศึกษาของครู และ (ง) การประเมินผลนักเรียน
ไม่มี
ศธ. อยู่ระหว่างดำเนินการรวบรวมข้อมูลและจัดทำข้อมูลตัวชี้วัด โดยหารือร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทส.12.a สนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนไปสู่แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น
12.a.1 กำลังผลิตติดตั้งพลังงานหมุนเวียนในประเทศกำลังพัฒนา (วัตต์ต่อหัวประชากร)
12.b พัฒนาและดำเนินการใช้เครื่องมือเพื่อติดตามผลกระทบของการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนที่สร้างงานและส่งเสริมวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
12.b.1 ดำเนินการใช้เครื่องมือทางการบัญชีที่มีมาตรฐานเพื่อติดตามมิติทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของความยั่งยืนทางการท่องเที่ยว
มี
การใช้เครื่องมือทางการบัญชีที่มีมาตรฐานเพื่อติดตามมิติทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของความยั่งยืนทางการท่องเที่ยว จำนวน 11 ตาราง12.c ทำให้การอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไร้ประสิทธิภาพและนำไปสู่การบริโภคที่สิ้นเปลืองมีความสมเหตุสมผล โดยกำจัดการบิดเบือนทางการตลาด ตามกับบริบทของประเทศ รวมถึงการปรับโครงสร้างภาษีและเลิกการอุดหนุนที่เป็นภัยเหล่านั้น เพื่อสะท้อนให้เห็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงความจำเป็นและเงื่อนไขเฉพาะของประเทศกำลังพัฒนา และลดผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้นต่อการพัฒนาในด้านการคุ้มครองคนจนและชุมชนที่ได้รับผลกระทบให้มากที่สุด
12.c.1 (a) สัดส่วนของเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อ GDP และ (b) สัดส่วนของเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อค่าใช้จ่ายรวมของประเทศในด้านเชื้อเพลิงฟอสซิล
กรณีศึกษาของการดำเนินการในเป้าหมาย SDG 12
Case study – SDG 12
Chula Zero Waste หรือโครงการพัฒนาต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายอย่างยั่งยืนในจุฬาลงกรณ์ เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม สำนักบริหารระบบกายภาพ และเครือข่ายคณาจารย์และนิสิต เพื่อพัฒนาระบบการจัดการขยะอย่างครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่การบรรจุหลักสูตรการคัดแยกและจัดการขยะในระบบการศึกษา กิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ และการปฏิบัติจริงทั้งในบริเวณมหาวิทยาลัย และพื้นที่ภาคีเครือข่าย บนพื้นฐานหลักการ 3R (Reduce, Reuse, Recycle)