เป้าหมายที่ 11 ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน
ความเป็นเมืองกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยสหประชาชาติคาดการณ์ว่าภายในปี 2593 ประชากรโลกที่อาศัยในเขตเมืองจะมีมากถึงร้อยละ 68 ของจำนวนประชากรทั่วโลก หรือที่จำนวน 6.7 พันล้านคน เนื่องจากเมืองเป็นแหล่งสำคัญของการจ้างงาน มีความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภคและการคมนาคมขั้นพื้นฐาน และมีสวัสดิการสังคมต่าง ๆ รองรับ ดังนั้น การทำให้เมืองที่อยู่อาศัยมีคุณภาพ มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีความปลอดภัย และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ นอกจากนี้ การพัฒนาเมืองจะต้องคำนึงถึงมิติความแตกต่างทางสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาที่คำนึงถึงกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้มีรายได้น้อย ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในเมืองได้อย่างมีคุณภาพ และเข้าถึงบริการพื้นฐานต่าง ๆ ได้อย่างเท่าเทียมเป้าหมายหลักที่ 11
สถานะข้อมูลปี 2566
- แนวโน้มเพิ่มขึ้น
- แนวโน้มคงที่
- แนวโน้มลดลง
การแสดงผลความก้าวหน้าของข้อมูล
อยู่ระหว่างดำเนินการ
11.1 สร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงที่อยู่อาศัยและการบริการพื้นฐานที่เพียงพอ ปลอดภัย ในราคาที่สามารถจ่ายได้ และยกระดับชุมชนแออัดภายในปี พ.ศ. 2573
11.1.1 สัดส่วนของประชากรในเขตเมืองที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด ที่อยู่อาศัยนอกระบบ หรือไม่เหมาะสม
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้11.2 จัดให้มีการเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน เข้าถึงได้ และปลอดภัยในราคาที่จ่ายได้สำหรับทุกคน ปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน ขยายขนส่งสาธารณะ โดยให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง อาทิ สตรี เด็ก ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ภายในปี พ.ศ. 2573
11.2.1 สัดส่วนของประชากรที่เข้าถึงการขนส่งสาธารณะได้อย่างสะดวก จำแนกตามเพศ อายุ และผู้พิการ
11.3 ยกระดับการพัฒนาเมืองให้ครอบคลุมและยั่งยืน รวมทั้งเพิ่มพูนขีดความสามารถในการบริหารจัดการและวางแผนการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อย่างยั่งยืน บูรณาการ และมีส่วนร่วม ในทุกประเทศภายในปี พ.ศ. 2573
11.3.1 สัดส่วนของอัตราการใช้ที่ดินต่ออัตราการเติบโตของประชากร
11.3.2 สัดส่วนของเมืองที่ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรงในการวางแผนและการจัดการเมือง โดยมีการดำเนินการเป็นประจำ และเป็นประชาธิปไตย
11.4 เสริมความพยายามที่จะปกป้องและคุ่มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ
11.4.1 รายจ่ายรวมต่อหัวประชากร ในด้านการสงวน การป้องกัน และการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติ จำแนกตามแหล่งเงินสนับสนุน (ภาครัฐ/เอกชน) ประเภทมรดก (ทางวัฒนธรรม ทางธรรมชาติ) และระดับของรัฐบาล (ประเทศ ภูมิภาค และท้องถิ่น/เทศบาล)
11.5 ลดจำนวนการตายและจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบและลดการสูญเสียโดยตรงทางเศรษฐกิจเทียบเคียงกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทั่วโลก ที่เกิดจากภัยพิบัติ ซึ่งรวมถึงภัยพิบัติที่เกี่ยวกับน้ำ โดยมุ่งคุ้มครองกลุ่มคนยากจน และผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง ภายในปี พ.ศ. 2573
11.5.1 จำนวนผู้เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยพิบัติต่อประชากร 100,000 คน (ภัยพิบัติ รวมถึง อุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย และภัยแล้ง)
11.5.2 ความสูญเสียโดยตรงทางเศรษฐกิจเทียบเคียงกับ GDP ของโลก รวมถึงความเสียหายที่เกิดกับโครงสร้างพื้นฐานและการหยุดชะงักของการบริการขั้นพื้นฐานที่สำคัญอื่นๆ อันเนื่องมาจากภัยพิบัติ
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้11.5.3 (a) ความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และ (b) จำนวนการหยุดชะงักของบริการพื้นฐาน ความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และ (b) จำนวนการหยุดชะงักของบริการพื้นฐาน อันเนื่องมาจากภัยพิบัติ
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้11.6 ลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมต่อหัวประชากรซึ่งเกิดจากการเติบโตของเขตเมือง รวมถึงให้ความสำคัญกับคุณภาพอากาศ และการจัดการขยะชุมชน และของเสียอื่น ๆ ภายในปี พ.ศ. 2573
11.6.1 สัดส่วนของขยะมูลฝอย (MSW) ที่มีการจัดเก็บและจัดการในสถานที่ที่มีการควบคุม ต่อปริมาณขยะมูลฝอยรวม จำแนกตามเมือง
11.6.2 ระดับค่าเฉลี่ยทั้งปีของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (เช่น PM2.5 และ PM10) ในเขตเมือง (ถ่วงน้ำหนักกับประชากร)
11.7 จัดให้มีการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียวที่ปลอดภัย ครอบคลุม และเข้าถึงได้ถ้วนหน้า โดยเฉพาะเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการภายในปี พ.ศ. 2573
11.7.1 ส่วนแบ่งเฉลี่ยของพื้นที่เมืองที่ถูกสร้างขึ้นให้เป็นสถานที่ที่ใช้ประโยชน์สาธารณะสำหรับทุกคน จำแนกตามเพศ อายุ และผู้พิการ
11.7.2 สัดส่วนของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการคุกคามทางร่างกาย หรือเพศ จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพความพิการ และสถานที่เกิดเหตุ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้11.a สนับสนุนการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมระหว่างพื้นที่เมือง ชานเมือง และชนบท โดยเสริมความเข้มแข็งในการวางแผนการพัฒนาระดับภูมิภาคและระดับชาติ
11.a.1 จำนวนประเทศที่มีนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเมืองหรือแผนการพัฒนาภาค ซึ่งมี (a) ความสอดคล้องกับพลวัตของประชากร (b) ความสมดุลของการพัฒนาเชิงพื้นที่ และ (c) การเพิ่มพื้นที่การคลัง (fiscal space) ของท้องถิ่น
11.b เพิ่มจำนวนและฐิ่นฐานของมนุษย์ที่สนองรับและดำเนินการตามนโยบายและแผนที่บูรณาการ เพื่อให้เกิดความครอบคลุม การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การลดผลกระทบ และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการมีภูมิต้านทานต่อภัยพิบัติ ตลอดจนพัฒนาและดำเนินการตามหลักการบริหารความเสี่ยงจากภัยพิบัติแบบองค์รวมในทุกระดับ โดยเป็นไปตามกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 - 2573
11.b.1 จำนวนประเทศที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับประเทศที่สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 – 2573
มี
แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 255811.b.2 สัดส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้กรณีศึกษาของการดำเนินการในเป้าหมาย SDG 11
Case study – SDG 11 – โครงการบ้านมั่นคง
การเจริญเติบโตที่รวดเร็วของเมืองส่งผลให้เกิดความแออัด ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และชุมชนแออัดที่อยู่กระจัดกระจายในเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดังนั้น การจัดการด้านที่ดินและที่อยู่อาศัยอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มคนเปราะบางในเมืองจึงกลายเป็นประเด็นที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2546 รัฐบาลได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ดำเนินโครงการบ้านมั่นคงเพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชนคนจนเมืองทั่วประเทศ สร้างความมั่นคงในการครอบครองที่ดิน พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อมชุมชน ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความสามารถในการจัดการของชุมชน