10
เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ
ประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ ทั้งด้านรายได้ ความมั่งคั่ง โอกาสการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ โครงสร้างพื้นฐาน การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและทรัพยากรที่จำเป็น และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ซึ่งปัญหาความเหลื่อมล้ำดังกล่าวเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น ความเหลื่อมล้ำจึงเป็นประเด็นการพัฒนาที่สำคัญของไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลกอย่างรวดเร็วจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่เสมอภาคระหว่างกลุ่มคน อันนำมาซึ่งปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ชัดเจนมากขึ้นในสังคมเป้าหมายหลักที่ 10
สถานะข้อมูลปี 2566
n/a
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต
(สถานการณ์ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง
(สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 50 - 74 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย
(สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 75 - 99 ของค่าเป้าหมาย)
บรรลุค่าเป้าหมาย
(บรรลุค่าเป้าหมายร้อยละ 100)
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
ทิศทางการพัฒนา
แนวโน้มเพิ่มขึ้น
- แนวโน้มเพิ่มขึ้น
- แนวโน้มคงที่
- แนวโน้มลดลง
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
น้อย
การแสดงผลความก้าวหน้าของข้อมูล
อยู่ระหว่างดำเนินการ
10.1 บรรลุการเติบโตของรายได้ของกลุ่มประชากรร้อยละ 40 ที่มีรายได้ต่ำสุด อย่างก้าวหน้าและยั่งยืน โดยให้มีอัตราเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2573
10.1.1 อัตราการเติบโตของการใช้จ่ายในครัวเรือน หรือรายได้ต่อหัวในกลุ่มประชากรร้อยละ 40 ที่มีรายได้ต่ำสุด
ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
10.2 เสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมความครอบคลุมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความพิการ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา สถานะทางเศรษฐกิจหรือสถานะอื่น ๆ ภายในปี พ.ศ. 2573
10.2.1 สัดส่วนประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของรายได้มัธยฐาน จำแนกตามเพศ อายุ และความพิการ
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้10.3 สร้างหลักประกันให้มีโอกาสที่เท่าเทียมและลดความไม่เสมอภาคของผลลัพธ์ รวมถึงโดยการขจัดกฎหมาย นโยบาย และแนวปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติ และโดยการส่งเสริมการออกกฎหมาย นโยบาย และการดำเนินการที่เหมาะสมในเรื่องดังกล่าว
10.3.1 สัดส่วนของประชากรที่รายงานว่ารู้สึกถูกเลือกปฏิบัติหรือถูกคุกคามในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ตามข้อบัญญัติพื้นฐานของการห้ามเลือกปฏิบัติภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ที่มา : (1) กระทรวงการพัฒนาสังคมแลความมั่นคงของมนุษย์ (2) สำนักงานสถิติแห่งชาติ (3) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
10.4 นำใช้นโยบาย โดยเฉพาะนโยบายด้านการคลัง ค่าจ้าง และการคุ้มครองทางสังคม และมุ่งบรรลุความเสมอภาคยิ่งขึ้น
10.4.1 ส่วนแบ่งแรงงานต่อ GDP (ประกอบไปด้วย ค่าจ้าง และประกันสังคมที่จ่ายโดยนายจ้าง)
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้10.4.2 ผลกระทบด้านการถ่ายโอนรายได้ (redistributive impact) จากนโยบายการคลัง
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้10.5 ปรับปรุงกฎระเบียบและการติดตามตลาดการเงินและสถาบันการเงินของโลก และเสริมความแข็งแกร่งในการดำเนินการตามกฎระเบียบดังกล่าว
10.5.1 ตัวชี้วัดเสถียรภาพของระบบการเงิน (Financial Soundness Indicators)
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
10.6 สร้างหลักประกันว่าจะมีตัวแทนและเสียงของประเทศกำลังพัฒนาในการตัดสินใจในสถาบันการเงินและเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เป็นสถาบันที่มีประสิทธิผล น่าเชื่อถือ มีความรับผิดชอบ และมีความชอบธรรมมากขึ้น
10.6.1 สัดส่วนของสมาชิก และสิทธิในการออกเสียงของประเทศกำลังพัฒนาในองค์กรระหว่างประเทศ
มี
(1) องค์กรระหว่างประเทศที่ไทยเป็นสมาชิกและมีสิทธิออกเสียงในองค์การระหว่างประเทศ (2) สิทธิการลงคะแนนเสียงในกลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) (3) สิทธิการลงคะแนนเสียงในธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) (4) สิทธิการลงคะแนนเสียงในธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (AIIB)ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ
10.7 อำนวยความสะดวกในการโยกย้ายถิ่นฐานและเคลื่อนย้ายของคนให้เป็นระเบียบ ปลอดภัย ปกติ และมีความรับผิดชอบ รวมถึงให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายด้านการอพยพที่มีการวางแผนและการจัดการที่ดี
10.7.1 ค่าใช้จ่ายในการจัดหางานที่ลูกจ้างต้องจ่าย คิดเป็นสัดส่วนของรายได้ประจำเดือน/ปีที่ได้รับจากประเทศปลายทาง
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้10.7.2 จำนวนประเทศที่มีนโยบายเอื้อต่อการโยกย้ายถิ่นฐานและเคลื่อนย้ายของคนที่เป็นระเบียบ ปลอดภัย ปกติ และมีความรับผิดชอบ
มี
พ.ร.บ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551ที่มา : กระทรวงแรงงาน
มี
พ.ร.ก การบริหารจัดการการทำงาน ของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561ที่มา : กระทรวงแรงงาน
10.7.3 จำนวนแรงงานข้ามชาติที่เสียชีวิตระหว่างการข้ามพรมแดนทั้งทางทะเล ทางบก และทางอากาศ
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้10.7.4 สัดส่วนประชากรที่เป็นผู้อพยพ (refugee) จำแนกตามประเทศต้นทาง
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้10.a ปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติอย่างเป็นพิเศษและแตกต่าง (special and differential treatment: S&D) สำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ให้สอดคล้องตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก
10.a.1 สัดส่วนของรายการภาษีศุลกากร (tariff lines) ของสินค้านำเข้าจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและประเทศกำลังพัฒนา ที่ไม่มีข้อกีดกันทางภาษีอากร (zero-tariff)
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
10.b สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และการไหลของเงิน รวมถึงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ไปยังรัฐที่มีความจำเป็นมากที่สุด โดยเฉพาะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ประเทศในทวีปแอฟริกา รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก และประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล โดยให้สอดคล้องกับแผนและแผนงานของประเทศ/รัฐดังกล่าว
10.b.1 ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาทั้งหมด จำแนกตามประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือ และประเทศผู้ให้การช่วยเหลือ และประเภทของการให้ความช่วยเหลือ (เช่น การช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) การลงทุนทางตรงของต่างประเทศ (FDI) และอื่นๆ)
ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ
10.c ลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมของการส่งเงินกลับประเทศของแรงงานย้ายถิ่น (migrant remittance) ให้ต่ำกว่าร้อยละ 3 และขจัดการชำระเงินระหว่างประเทศ (remittance corridors) ที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าร้อยละ 5 ภายในปี พ.ศ. 2573
10.c.1 สัดส่วนของค่าใช้จ่ายการส่งเงินกลับประเทศต่อจำนวนเงินรวมที่ส่งกลับ
ที่มา : กระทรวงการคลัง
กรณีศึกษาของการดำเนินการในเป้าหมาย SDG 10
Case study – SDG 10
โครงการ 1 ไร่ 1 แสน ปัญหาอันเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้นั้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศแล้ว ยังส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องให้ความสำคัญกับภาคการเกษตรฐานราก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น