1
เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่
ความยากจนเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการพัฒนาทุน มนุษย์และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งความยากจนไม่เพียงแต่หมายถึงความขัดสนทางด้าน รายได้ในการดำรงชีพเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงวิถีชีวิตและความอยู่ดีมีสุขในทุกมิติตลอดช่วงชีวิตของมนุษย์ จึงทำให้การแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นวาระการพัฒนาหลักของหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย โดยการยุติความยากจนให้หมดสิ้นไปต้องดำเนินการให้ครอบคลุมอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเปราะบางที่มีความท้าทายในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการขั้นพื้นฐาน อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทางเศรษฐกิจและสังคมเป้าหมายหลักที่ 1
สถานะข้อมูลปี 2566
n/a
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต
(สถานการณ์ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง
(สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 50 - 74 ของค่าเป้าหมาย)
ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย
(สถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 75 - 99 ของค่าเป้าหมาย)
บรรลุค่าเป้าหมาย
(บรรลุค่าเป้าหมายร้อยละ 100)
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
ทิศทางการพัฒนา
แนวโน้มลดลง
- แนวโน้มเพิ่มขึ้น
- แนวโน้มคงที่
- แนวโน้มลดลง
ความครบถ้วนของข้อมูลตัวชี้วัด
น้อย
การแสดงผลความก้าวหน้าของข้อมูล
1.1 ภายในปี พ.ศ. 2573 ขจัดความยากจนขั้นรุนแรงของประชาชนในทุกพื้นที่ให้หมดไป ซึ่งในปัจจุบันความยากจนวัดจากคนที่มีค่าใช้จ่ายดำรงชีพรายวันต่ำกว่า $1.25 ต่อวัน
1.1.1 สัดส่วนของประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนสากลจำแนกตาม เพศ อายุ สถานะการจ้างงาน และ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้1.2 ภายในปี พ.ศ. 2573 ลดสัดส่วน ชาย หญิง และเด็กในทุกช่วงวัย ที่อยู่ภายใต้ความยากจนในทุกมิติ ตามนิยามของแต่ละประเทศ ให้ลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
1.2.1 สัดส่วนของประชากรที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศ จำแนกตามเพศ และอายุ
ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1.2.2 สัดส่วนของผู้ชาย ผู้หญิงและเด็กในทุกช่วงวัยที่ยากจนในทุกมิติ ตามนิยามของแต่ละประเทศ
ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1.3 ดำเนินการให้ทุกคนมีระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคมในระดับประเทศให้เหมาะสม รวมถึงการให้ห้อง/พื้นที่ที่มีพื้นและบรรลุการครอบคลุมถึงกลุ่มที่ยากจนและเปราะบาง ภายในปี พ.ศ. 2573
1.3.1 สัดส่วนของประชากรที่ได้รับความคุ้มครองตามระบบและมาตรการการคุ้มครองทางสังคม จำแนกตามเพศ และแบ่งเป็น เด็ก ผู้ว่างงาน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเกิดใหม่ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน ผู้ที่ยากจนและเปราะบาง
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
1.4 ภายในปี พ.ศ. 2573 สร้างหลักประกันว่าชายและหญิงทุกคน โดยเฉพาะที่ยากจนและเปราะบาง มีสิทธิเท่าเทียมกันในทรัพยากรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน การเป็นเจ้าของและมีสิทธิในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบอื่น มรดกทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสม และบริการทางการเงินซึ่งรวมถึงระบบการเงินระดับฐานราก
1.4.1 สัดส่วนของประชากรอาศัยในครัวเรือนที่เข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
1.4.2 สัดส่วนของประชากรผู้ใหญ่ที่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินถูกต้องตามกฎหมายรับรองการถือครองที่ดิน และประชากรเหล่านี้ทราบถึงสิทธิของตนในที่ดินที่ตนถือครอง จำแนกตามเพศ และประเภทการถือครอง
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ
รายงานสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (MICS)
1.5 ภายในปี พ.ศ. 2573 สร้างภูมิต้านทานให้แก่คนยากจนและคนที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง และลดการเผชิญหน้า และความเสี่ยงต่อเหตุการณ์รุนแรง/ภัยพิบัติ อันเนื่องมาจากภูมิอากาศ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.5.1 จำนวนผู้เสียชีวิต สูญหาย และผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยพิบัติต่อประชากร 100,000 คน (ภัยพิบัติ รวมถึง อุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย และภัยแล้ง) ()
ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
1.5.2 การสูญเสียทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากภัยพิบัติโดยตรง ต่อ GDP โลก ()
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัด1.5.3 จำนวนประเทศที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับประเทศที่สอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 - 2573 ()
มี
แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
1.5.4 สัดส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับประเทศ ()
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้1.a สร้างหลักประกันว่าจะมีการระดมทรัพยากรอย่างมีนัยสำคัญจากแหล่งที่หลากหลายรวมไปถึงการยกระดับความร่วมมือเพื่อการพัฒนา เพื่อที่จะจัดให้มีแนวทางที่เพียงพอและวิธีการที่คาดเดาได้แก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ในการดำเนินงานตามแผนงานและนโยบายเพื่อยุติความยากจนในทุกมิติ
1.a.1 สัดส่วนของเงินสนับสนุนให้เปล่า (ODA grants) เพื่อมุ่งลดความยากจน จากผู้ให้การสนับสนุนทั้งหมด ต่อรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ของประเทศผู้รับ ()
ที่มา : กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
1.a.2 สัดส่วนการใช้จ่ายรวมของรัฐบาลในบริการที่สำคัญจำเป็น (การศึกษา สุขภาพ และการคุ้มครองทางสังคม) ()
ไม่มี
ไม่มีการดำเนินการสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้1.b สร้างกรอบนโยบายที่เหมาะสมในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ บนฐานของยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สนับสนุนความยากจน (pro-poor) และคำนึงถึงความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะ (gender sensitive) เพื่อจะสนับสนุนการเร่งการลงทุนเพื่อปฏิบัติการขจัดความยากจน
1.b.1 รายจ่ายสาธารณะทางสังคมที่เอื้อประโยชน์แก่คนจน
ไม่มี
ยังไม่มีข้อมูลสำหรับรายงานตัวชี้วัดนี้กรณีศึกษาของการดำเนินการในเป้าหมาย SDG 1
ศูนย์จัดการกองทุนชุมชนบ้านชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
บ้านชากไทย ตั้งอยู่ที่ อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เป็นหนึ่งในต้นแบบการบริหารจัดการหนี้สินภายในชุมชน เพื่อตอบสนองนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งมุ่งเน้นการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากชุมชน ผ่านการบริหารจัดการเงินทุนที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด