Case study – SDG 17

การทูตเพื่อการพัฒนา: ไทยสนับสนุนติมอร์ เลสเต ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน
ภายหลังสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเตได้รับเอกราชจากอินโดนีเซีย ไทยได้ให้ความช่วยเหลือติมอร์-เลสเตเพื่อส่งเสริมการพัฒนาประเทศของติมอร์-เลสเต ในด้านต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้ติมอร์ เลสเต สามารถพัฒนาได้อย่างครอบคลุมและยั่งยืน ในปัจจุบัน ไทยและติมอร์-เลสเต อยู่ระหว่างการจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ระยะ 3 ปี ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2563-2565)

“Leaving No One Behind ด้วยกองทุนยุติธรรม”

“Leaving No One Behind ด้วยกองทุนยุติธรรม”
“…ความยากจนเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงความยุติธรรม เพราะกระบวนการดำเนินคดีมีค่าใช้จ่ายสูง” ด้วยการตระหนักรู้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมข้างต้น ประเทศไทยนำโดยกระทรวงยุติธรรมจึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น ผ่านการดำเนินการเชิงรุกในสองรูปแบบคือ (1) การส่งเสริมความรู้แก่สังคมให้เข้าใจถึงหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (2) การลดช่องว่างในการเข้าถึงความยุติธรรม ผ่านการให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับผู้ได้รับความเดือดร้อนในการดำเนินการของกระบวนการดำเนินคดีต่าง ๆ โดยภารกิจข้างต้นเป็นสิ่งที่ประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปฏิรูปการปกป้องพื้นป่าด้วยเทคโนโลยี กับ SMART Patrol System

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าครอบคลุมกว่า 102 ล้านไร่ โดยในปี 2561 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นกว่า 332,000 ไร่ (อ้างอิงข้อมูลการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ปี 2560-2561 โดยกรมป่าไม้) ด้วยข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าภารกิจในการปกป้องพื้นป่าของไทยนั้นครอบคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 32 ของประเทศและนับเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาพื้นป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งในแง่พืชพันธุ์และสัตว์ป่า

Case study – SDG 14

แนวคิด SEACOSYSTEM เพื่อทะเลไทยยั่งยืน แนวคิด SEACOSYSTEM เป็นความร่วมมือในการพัฒนาและฟื้นฟูท้องทะเลไทยระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และชุมชนเจ้าของพื้นที่ ในการจัดการกับปัญหาทะเลไทยที่กำลังเข้าสู่ระยะวิกฤติจากปัญหาขยะในทะเล ปะการังฟอกขาว ปะการังเสื่อมโทรม การสูญพันธุ์ของมวลสัตว์น้ำ ตลอดจนผลกระทบต่อการทำประมงพื้นบ้าน เป็นต้น ซึ่งแนวคิด SEACOSYSTEM จะยึดหลักการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและฟื้นฟูการประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืนผ่านการดำเนินโครงการที่หลากหลาย โดยเน้นความสำคัญ 5 ด้าน ตั้งแต่ นโยบายในการพัฒนารูปแบบการทำธุรกิจที่ยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน (SD in Process) โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ชูการทำงาน

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย

Thailand Voluntary Emission Reduction Program (T-VER) เป็นโครงการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศด้วยความสมัครใจ โดยสามารถนำปริมาณการลดหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่ผ่านการรับรอง ที่เรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” ไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศได้ ตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนการพัฒนาโครงการที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) กำหนด

Case study – SDG 12

Chula Zero Waste หรือโครงการพัฒนาต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายอย่างยั่งยืนในจุฬาลงกรณ์ เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม สำนักบริหารระบบกายภาพ และเครือข่ายคณาจารย์และนิสิต เพื่อพัฒนาระบบการจัดการขยะอย่างครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่การบรรจุหลักสูตรการคัดแยกและจัดการขยะในระบบการศึกษา กิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ และการปฏิบัติจริงทั้งในบริเวณมหาวิทยาลัย และพื้นที่ภาคีเครือข่าย บนพื้นฐานหลักการ 3R (Reduce, Reuse, Recycle)

Case study – SDG 11 – โครงการบ้านมั่นคง

การเจริญเติบโตที่รวดเร็วของเมืองส่งผลให้เกิดความแออัด ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และชุมชนแออัดที่อยู่กระจัดกระจายในเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดังนั้น การจัดการด้านที่ดินและที่อยู่อาศัยอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มคนเปราะบางในเมืองจึงกลายเป็นประเด็นที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2546 รัฐบาลได้มอบหมายให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ดำเนินโครงการบ้านมั่นคงเพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชนคนจนเมืองทั่วประเทศ สร้างความมั่นคงในการครอบครองที่ดิน พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อมชุมชน ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความสามารถในการจัดการของชุมชน

Case study – SDG 10

โครงการ 1 ไร่ 1 แสน ปัญหาอันเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้นั้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศแล้ว ยังส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องให้ความสำคัญกับภาคการเกษตรฐานราก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น

โครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi)

ประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมด้านการพัฒนาและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อยกระดับไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง โดยมีโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ณ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ นำร่องสำหรับการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน โดยมี 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth)

โครงการ 60 Plus Bakery and Chocolate Café ฝึกอาชีพให้แก่ผู้พิการ

ในการส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน จึงได้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการดำเนินโครงการ 60 Plus Bakery and Chocolate Café มีวัตถุประสงค์หลักในการฝึกอบรมทักษะในการประกอบอาชีพให้แก่ผู้พิการ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มคุณค่าและสร้างโอกาสให้กับคนพิการ เพื่อที่คนพิการจะสามารถช่วยเหลือตัวเองและสามารถหารายได้เลี้ยงตัวเองได้

1 2
Goal-1Goal-2Goal-3Goal-4Goal-5Goal-6Goal-7Goal-8Goal-9Goal-10Goal-11Goal-12Goal-13Goal-14Goal-15Goal-16Goal-17

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save